วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557


 สรุปบทความเรื่อง....นักสำรวจน้อย คลิก


(โดยรองศาสตราจารย์ นภเนตร ธรรมบวร)



สรุป

             เป็นที่ทราบกันดีว่าวัยเด็กเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นเด็กในวัยนี้มักแอบสำรวจสิ่งต่างๆรอบตัวอยู่เสมอโดยเด็กไม่รู้เลยว่าสิ่งที่ตนกำลังทำอยู่นั้นเป็นกระบวนการหนึ่งในการสืบค้นหาคำตอบมางวิทยาศาสตร์การสำรวจเป็นคุณสมบัติที่เด็กเกือบทุกคนมีอยู่ในตนเองเพียงเเต่บางครั้งการเเสดงออกซึ่งความอยากรู้อยากเห็นจึงไม่เหมาะสมจึงทำให้ผู้ใหญ่มองข้ามหรือละเลยไป การฝึกใช้ให้เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการรับรู้และสำรวจสิ่งต่างๆรอบตัว การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำข้อมูลที่ได้ไปสื่อสารนั้นถือเป็นทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญมาก ผู้ปกครองสามารถจัดกิจกรรมง่ายๆที่บ้านด้วยตนเองเพื่อฝึกให้ลูกให้ใช้ประสาทสัมผัสได้เช่นกันโดยเริ่มต้นจากการชี้ชวนให้ลูกสังเกตธรรมชาติรอบตัว เช่น ต้นไม้ ดอกไม้และเเมลงต่างๆในขั้นนี้ผู้ปกครองอาจจะกระตุ้นลูกให้วาดสิ่งของที่สังเกตเห็นควบคู่ไปด้วยเเละมีการพูดคุยเกี่ยวกับรายละเอียดของสิ่งที่ลูกสังเกตว่า ลูกสังเกตเห็นอะไรบ้าง มีสีอะไร มีขนาดเท่าไหร่ เมื่อลูกมีการคุ้นเคยและชำนาญมากขึ้นผู้ปกครองอาจจะเล่นเกมกับลูกโดยอาจให้ลูกเป็นคนสังเกตและนำขอมูลมาสื่อสารให้ผู้ปกครองเป็นผู้วาดหรืออาจจะสลับบทบาทกันก็ได้ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ไม่ใช่การศึกษาเเบบแยกส่วนเเบบที่หลายๆคนเข้าใจแต่เป็นการเรียนรู้เเบบบูรณาการระหว่างวิทยาศาสตร์เเละศิลปะ เป็นศาสตร์ของการเชื่อมโยงผสมผสานระหว่างสื่งที่อยู่ใกล้ตัวและความงามในธรมมชาติเข้าด้วยกัน อันจะนำไปสู่ก่รพัฒนาเจตคติในทางบวกต่อการดำรงค์ชีวิตของเด็กต่อไปในอนาคต

 สาเหตของการเลือกบทความเรื่องนี้เพราะ

            จริงอยู่ว่าบทความที่ข้าพเจ้าเลือกมานั้นได้กล่าวถึงเด็กในวัย 8-9ปี  แต่ทักษะการสังเกตนั้นถือได้ว่าเป็นทักษะพื้นฐานในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ซึ่งวิทยาศาสตร์นั้นสามารถเรียนได้ตั้งเเต่ในระดับ อนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา หรือในการศึกษาในระดับขั้นที่สูงกว่านี้ สำหรับการสอนวิทยาศาสตร์ในระดับเด็กปฐมวัยนั้นราสามรถนำมาประยุกต์ในการสอนได้ ซึ่งอาจจะเป็นการสำรวจซึ่งต่างๆรอบตัวรวมไปถึงการทำการทดลองทีมีขั้นตอนไม่ยุ่งยากซับซ้อน เเต่เกิดกระบวนการในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เริ่มจากเรื่องใกล้ตัวเด็กไปจนถึงเรื่องที่ใกล้ตัวเด็กออกไป ซึ่งจะเป็นการปลูกฝังทัศนคติที่ดีในการเรียนรู้เเละนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดการเรียนรู้ในขั้นต่อไปในอนาคต













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น