วันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2557



บันทึกอนุทินครั้งที่ 9
วันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ 2557

สรุปแผนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมีดังนี้




ความรู้ที่ได้รับ
การเขียนแผนการสอนในแต่ละวันควรจะสอดคล้องกันในอาทิตย์นั้นๆ
การเขียนเเผนการสอนควรมี ขั้นนำ ขั้นสอน และขั้นสรุป
การเขียนแผนการสอนสามารถเขียนในเอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กได้ในทุกๆด้าน
การเขียนแผนการสอนควรคำนึงถึงพัฒนาการของเด็กเป็นหลัก

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
การเขียนแผนการสอนควรมีความหลากหลายในหน่วยการเรียนรู้ของเด็กจะทำให้เด็กไม่รู้สึกเบื่อหน่าย
ในการจัดกิจกรรมในเด็กได้มีส่วนร่วมควรคำนึงถึงระยะเวลาที่ใช้ในการเรียนรู้ของเด็กคือ 15-20นาที
เด็ดจะเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพหากได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง

เทคนิกการสอนในห้องเรียน
การใช้คำถามปลายเปิดและใข้คำถามเป็นตัวกระตุ้น
ใช้สื่อเทคโนโลยีในการสอน
มีการอภิปลายแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก

คำศัพท์(Glossary) 
แผนการสอน : lesson Plan
การประยุกต์ใช้ : Application
การวัดและการประเมินผล : Measurement and Evaluation
พัฒนาการการเรียนรู้ : Learning Development
การลงมือทำค้วยตนเอง : Doing trade manually.
ความสอดคล้อง : accordance

การประเมินการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง เข้าใจหลักการแผนการสอนในระดับนึงและใช้คำถามเป็นตัวขยายความเข้าใจในเนื้อหา
ประเมินเพื่อน มีการให้ความร่วมมือในการตอบคำถามในชั้นเรียนเป็นอย่างดีเเละมีกิจกรรมที่หลากหลาย
ประเมินอาจารย์ สอน และอธิบายการเขียนแผนการสอนอย่างละเอียดและมีการยกตัวอย่างเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น





บันทึกอนุทินครั้งที่ 8 
วันพฤหัสบดี ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ 2557

วันนี้มีการนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยดังต่อไปนี้







ประมวลภาพการนำเสนอสื่อของเล่นวิทยาศาสตร์สำหรับปฐมวัย





ความรู้ที่ได้รับ
ในการผลิตของเล่นสำหรับเด็กควรจะเป็นสิ่งที่เด็กสามารถทำได้ง่าย
ไม่มีขั้นตอนที่ซับซ้อน
ในการเล่นเด็กต้องได้รับประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม
ใช้วัสดุเหลือใช้ที่หลากหลาย

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
จัดทำของเล่นวิทยาศาสตร์จากวัสดุเหลือใช้ที่สามารถหาได้ง่าย
ครูสามารถเรียนรู้ไปพร้อมกับเด็กได้
ของเล่นสำหรับเด็กสามารถจัดในมุมวิทยาศาสตร์หรือนำมาเล่นก็ได้

เทคนิกการสอนในชั้นเรียน
การอภิปรายเกี่ยวกับของเล่นสำหรับเด็กปฐมวัย
การใช้คำถามปลายเปิดเพื่อหาความหลากหลายในคำตอบ
ใช้สื่อเทคโนโลยีในการเรียนการสอน

คำศัพท์(Glossary)
ของเล่น : toy
วัสดุเหลือใช้ : wastes
บูรณาการ : Integration
กิจกรรมเสริมประสบการณ์ : Experience activities
กิจกรรมเล่นเสรี : Events play free
กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ : Creative art activities

การประเมินการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง มาเรียนตรงเวลา นำเสนอสื่อออกมาได้ดี และเข้าใจในเนื้อหาที่เรียน
ประเมินเพื่อน เพื่อนทำสื่อออกมาได้มีความหลากหลาย และทำออกมาได้ดีมาก
ประเมินอาจารย์ มาสอนตรงเวลา เเนะนำเทคนิกและวิธีการในการทำของเล่นสำหรับเด็กปฐมวัยอย่างเข้าใจได้ง่ายและไม่ยุ่งยาก







วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7
วันพฤหัสบดี ที่ 2 สิงหาคม  พ. ศ 2557



วันนี้อาจารย์ให้ทำของเล่นวิทยาศาสตร์จากแกนกระดาษทิษชู่

อุปกรณ์
แกนกระดาษทิษชู่
เชือก
กระดาษสี
กรรไกร

วิธีทำ
นำแกนกระดาษทิษชูมาตัดแบ่งครึ่งและนำกระดาษสีตัดเป็นวงกลมเเละวาดรูปลงไปจากนั้นเจาะกลางกระดาษทิษชู่ตรงกลางสองรูให้ทะลุงทั้งสองด้านจากนั้นนำเชือกมาร้อยจากด้านหนึ่งให้ทะลุไปยังอีกด้านหนึ่งจากนั้นตัดกระดาษที่วาดเสร็จเเล้วแปะลงบนกึ่งกลางของกระดาษทิษชูเป็นอันเสร็จ
วิธีเล่น
จับปลายเชือกทั้งสองข้างเเล้วดึงขึ้นลง สังเกตแกนกระดาษทิษชูจะค่อยๆเคลื่อนขึ้นมาตามเเรงดึง



การนำเสนอบทความวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
บทความเรื่องที่ 1  สรุปได้ใจความดังนี้
เรื่องสอนเด็กเรียนวิทยาศาสตร์จากเป็ดและไก่ จัดกิจกรรมชวนเด็กตั้งคำถามในการสืบค้นข้อมูล
-        ร้องเพลงและทำท่าทางตามจินตนาการและฟังนิทานเรื่อง หนูไก่คนเก่ง
-        ตั้งคำถาม
-        สำรวจและรวบรวมข้อมูล
-        นำเสนอรูปภาพและบันทึกข้อมูลผ่านรูปภาพ
กิจกรรมนี้เด็กได้แสดงความรู้สึกผ่านคำพูด การเล่าเรื่อง และการอธิบาย จุดเด่น
บทความเรื่องที่ 2  สรุปได้ใจความดังนี้
จุดประกายเด็กคิดนอกกรอบจากของเล่นวิทยาศาสตร์ นำวัสดุเหลือใช้มาทสิ่งประดิษฐ์ ของของใช้
การประดิษฐ์
-           เด็กประดิษฐ์เอง
-           ครูทำไว้ตามมุม
บทความเรื่องที่ 3  สรุปได้ใจความดังนี้
เรื่องการส่งเสริมกระบวนการคิด   เด็กมีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกต และชอบการสำรวจใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5ในการเรียนรู้ โดยอาจจะเริ่มจากการวาดภาพ โยการฝึกให้เด็กสังเกต ตั้งคำถาม แล้วมาเล่าให้พ่อแม่ฟัง
การบูรณาการมี  2 ประเภท คือ
-           รวมเป็นเนื้อเดียวกัน
-           การแยกสาระ
 บทความเรื่องที่ 4   สรุปได้ใจความดังนี้
สอนลูกเรื่องปรากฎการณ์ธรรมชาติ  สอนในเรื่องที่มีผลกระทบต่อตัวของเด็กโดยตรง ในสาระธรรมชาติรอบตัว นำไปสู่การทดลอง และการปฏิบัติจริงจากสถานการณ์จริง และสถานการณ์จำลอง โดยการใช้คำถามเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กเกิดการคิดวิเคราะห์
บทความเรื่องที่ 5  สรุปได้ใจความดังนี้
การสอนลูกเรื่อง อากาศ การเรียนรู้ลักษณะ ความสำคัญ ความจำเป็น ต่อการดำรงชีวิตซึ่งการจัดกิจกรรมนี้ เด็กจะได้คิดและตั้งคำถามและเขาก็จะเป็นผู้หาคำตอบด้วยตัวของเขาเองโดยครูเป็นผู้จัดประสบการตรงให้แก่เด็กได้ทำกิจกรรม
ความรู้ที่ได้รับ
-           การให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนองเด็กจะเรียนรู้ได้ดีและมีประสิทธิภาพสูงสุด
-           เด็กไม่ชอบการบังคับในเรื่องที่เขาไม่สนใจและจะทำให้เขาไม่เกิดการเรียนรู้
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-           การจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย
-           กระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่บูรณาการกับการเรียนรู้ในสาระการเรียนรู้เรื่องอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เทคนิควิธีการสอนในชั้นเรียน
ทักษะการใช้คำถามปลายเปิด เพื่อให้ได้แนวคิดของคำตอบที่หลากหลาย
ทักษะการใช้สื่อเทคโนโลยีในการศึกษาและใช้ในการเรียนการสอน
คำศัพท์(Glossary)
ปรากฏการณ์ธรรมชาติ(natural phenomena)
การเรียนรู้ (Learning)
ประสบการณ์จริง(actual experience)
การทดลอง(trials)
การเล่น(play)
ประสาทสัมผัสทั้ง5(The 5 senses)
การประเมินการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง : มาเรียนตรงเวลา   แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
ประเมินเพื่อน :  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มาเข้าเรียนตรงเวลา มีส่วนร่วมในการร่วมตอบคำถามในชั้นเรียน
ประเมินอาจารย์ : แนะนำเทคนิคการสอนเกี่ยวกับการเรียนรู้ทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอย่างตรงประเด็นและเข้มข้นและแนะแนวหลักการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอย่างตรงประเด็น











บันทึกอนุทินครั้งที่ 6
วันพฤหัสบดี ที่ 25  กันยายน พ. ศ 2557



สื่อการสอนกลุ่มของข้าพเจ้า เรื่อง....ผลไม้




วันนี้อาจารย์สอนทำของเล่นวิทยาศาสตร์ คือ ลูกยางกระดาษ

อุปกรณ์
กระดาษสี
คลิปหนีบกระดาษ
กรรไกร

วิธีทำ
1.  นำกระดาษมาตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
2.  พับครึ่งของกระดาษลงมา
3.  พับครึ่งของกระดาษลง โดยถึงจากที่พับไปครั้งแรก
4.  ใช้กรรไกรตัดกระดาษ 
5.  พับส่วนที่เหลือเก็บให้เรียบร้อย และใช้คลิปหนีบกระดาษหนีบ


วิธีการเล่น 
โยนขึ้นไปบนฟ้า หรือโยนจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ จะทำให้ลูกยางหมุนวนอยู่ในอากาศ เนื่องจากเเรงโน้มถ่วงของโลก
การนำเสนอบทความวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
บทความเรื่องที 1  สรุปได้ใจความดังนี้
เรื่องแสงสีกับชีวิตประจำวัน
สีมีทั้งหมด 3สี เรียกว่าแม่สี คือ สี แดง น้ำเงิน เขียว ซึ่งมาจากดวงอาทิตย์ สีทุกสีบนโลกมาจากแม่สีนี้ในอัตราส่วนที่เท่ากันแล้วมาตกกระทบที่ตาของเราจึงเกิดสีต่างๆที่เรามองเห็น
บทความเรื่องที่ 2 สรุปได้ใจความดังนี้
เรื่อง เงามหัศจรรย์
บทความเรื่องที่ 3 สรุปได้ใจความดังนี้
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม คือการจัดสภาพแวดล้อมภายนอกและภายในให้เด็กได้เห็นและจะเกิดการซึมซับโดยไม่รู้ตัว เช่น การคัดแยกขยะ การปลูกต้นไม้ การนำเศษวัสดุเหลือใช้มาประยุกต์ใช้ใหม่
บทความเรื่องที่ 4 สรุปได้ใจความดังนี้
 วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย จะไม่มีการเรียนรู้ด้านเนื้อหา จะให้เด็กลงมือกระทำด้วยตนเอง
การสังเกต จำแนกประเภทมี 2 ประเภท คือ
-           ฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์
-           หาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
การนำเสนอบทความวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
บทความเรื่องที่ 5  สรุปได้ใจความดังนี้
การทดลองวิทยาศาสตร์
-           ทักษะการสังเกต
-           ทักษะการวัด
-           ทักษะการจำแนกประเภท
-           ทักษะการสื่อสาร การแสดงผล
-           ทักษะการลงความเห็น
-           ทักษะการพยากรณ์
ประโยชน์
-           เด็กได้คิดอย่างมีระบบ
-           ส่งเริมพัฒนาการเด็กอย่างองค์รวม
ความรู้ที่ได้รับ
-           การส่งเริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-           ธรรมชาติของเด็ก คือการเล่น
-           ทุกภาคร่วมควรมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กไปพร้อมๆกัน
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-           ครูควรมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมพร้อมๆกับเด็ก เพื่อเป็นการกระตุ้นอีกทางหนึ่ง
-           จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ของเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ
เทคนิควิธีการสอนในชั้นเรียน
ทักษะการใช้คำถามปลายเปิด เพื่อให้ได้แนวคิดของคำตอบที่หลากหลาย
ทักษะการใช้สื่อเทคโนโลยีในการศึกษาและใช้ในการเรียนการสอน
ทักษะการอภิปราย
ทักษะการระดมความคิด
คำศัพท์(Glossary)
ทักษะการสังเกต (Observation skills)
ทักษะการวัด (Measurement skills)
ทักษะการจำแนกประเภท (Skill Classification)
ทักษะการสื่อสาร การแสดงผล (Communication skills display)
ทักษะการลงความเห็น (Skills opinion)
ทักษะการพยากรณ์ (Forecasting Skills)
การประเมินการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง : มาเรียนตรงเวลา  สอบถามเมื่อไม่เข้าใจเนื้อหา  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
ประเมินเพื่อน :  นำเสนอสื่อการสอนได้ดีในระดับหนึ่ง แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มาเข้าเรียนตรงเวลา
ประเมินอาจารย์ : แนะนำเทคนิคการสอนเกี่ยวกับการเรียนรู้ทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอย่างตรงประเด็นและเข้มข้นและแนะแนวหลักการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอย่างตรงประเด็น


บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

วันพฤหัสบดี ที่ 18 กันยายน พ. 2557


การนำเสนอบทความวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

บทความเรื่องที่ 1  สรุปได้ใจความดังนี้
สนุกกับสะเต็มศึกษา เป็นการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์โดยมีแนวคิดดังนี้
-           เน้นการบูรณาการ
-           เชื่อมโยงเนื้อหา
-           พัฒนาทักษะ
-           ท้าทายความสามารถ
-           เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น
สาเหตุมาจาก…..ปรับการเปลี่ยนแปลงของสังคมให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิต
บทความเรื่องที่ 2 สรุปได้ใจความดังนี้
เรื่องของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร ให้ครูผู้สอนใช้วิธีการบูรณาการและให้เด็กได้ค้นหาข้อมูลด้วยตนเอง การที่เด็กได้มีส่วนร่วมจะทำให้เค้าเกิดการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้นเพราะเขาได้เรียนรู้จากประสบการณ์โดยตรง
ประโยชน์
-           เด็กมีโอกาสค้นหาข้อมูลด้วยตนเอง
-           ตระหนักถึงการใช้ทรัพยากร
-           ทำให้เกิดการต่อยอดการเรียนรู้
 บทความเรื่องที่ 3  สรุปได้ใจความดังนี้
บ้านฉันเป็นค่ายวิทยาศาสตร์ ด.ร โทรมัส ทิวมั่นส์ ปลูกฝังการรักวิทยาศาสตร์เรียนรู้แบบธรรมชาติโดยเป็นการกระตุ้นการเรียนรู้โดยที่เด็กไม่รู้ตัวโดยผ่านกระบวนการเล่นอย่างมีอิสระและเสรี
โจคิม เมอร์เกอร์  นักวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กได้แนะแนวทางการเรียนรู้โดยการเล่าเรื่องและให้ค้นพบความจริงโยง่ายจากการลงมือกระทำ ค้นคว้า หรือทดลอง เด็กจะเกิดความภาคภูมิใจและมีเจตคติที่ดีในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ความรู้ที่ได้รับ
-           ธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
-           ขอบข่ายการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามลำดับขั้นของพัฒนาการ
-           เด็กจะเรียนรู้ได้ดีหากเด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-           การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ให้สอดคล้องและตรงกับความต้องการของเด็กปฐมวัย
เทคนิควิธีการสอนในชั้นเรียน
ทักษะการใช้คำถามปลายเปิด เพื่อให้ได้แนวคิดของคำตอบที่หลากหลาย
ทักษะการใช้สื่อเทคโนโลยีในการศึกษาและใช้ในการเรียนการสอน
ทักษะการเขียนสรุป             
ทักษะการระดมความคิด
คำศัพท์(Glossary)
การบูรณาการ (Integration )
เชื่อมโยงเนื้อหา(Content link)
พัฒนาทักษะ(Skills)
ท้าทายความสามารถ(Challenging)
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น(Provide opportunities for students to express their opinions)
ลงมือกระทำด้วยตนเอง(Action manually)
ความลับของแสง

          แสงช่วยให้เห็นสิ่งต่างๆได้ เกิดจากการสะท้อนของแสงเข้ามาทางตาของเรา ทำให้เรามองเห็นสิ่งของต่างๆได้ ตาของเราคือจอสำหรับรับแสงสะท้อนมาจากสิ่งของที่เห็น ถ้าเราแสบตาเมื่อมองแสงแดดหรือแสงไฟนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของปริมาณแสงเร็วเกินไปทำให้ตาของเรายังปรับตามไม่ทันจึงทำให้แสบตา นอกจากแสงที่มีความสำคัญแล้วยังมีดวงอาทิตย์ให้แสงสว่างกับมนุษย์ได้ตลอดเวลา แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรง วัตถุบนโลกของเราเมื่อมีแสงมากระทบแล้วก็มีความแตกต่างกัน3ลักษณะ คือ วัตถุโปร่งแสง วัตถุโปร่งใส วัตถุทึบแสง การเดินทางของแสงจะเป็นเส้นตรง ซึ่งตาของมนุษย์ก็จะมีรูเล็กๆคือรูรับแสง แต่สมองของเราจะช่วยให้กลับบ้านภาพให้เป็นปกติโดยอัตโนมัติ คุณสมบัติของแสงมีประโยชน์มากมาย เช่น การสะท้อนแสง การหักเหของแสง เป็นต้น การที่เรามองเห็นวัตถุที่มีสีแตกต่างกัน เพราะว่าวัตถุบนโลกใบนี้มีสีในตัวของมันเอง ทำให้มีการสะท้อนแสงและการดูดกลืนแสงสีที่แตกต่างกัน เมื่อมีการกระทบวัตถุก็จะดูดกลืนแสง แล้วสะท้อนสีที่มีสีเดียวกันออกมา จึงทำให้เราเห็นสีของต่างๆของวัตถุ เงาก็เกิดจากการแสงเหมือนกัน
การประเมินการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง : มาเรียนตรงเวลา  สอบถามเมื่อไม่เข้าใจเนื้อหา  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
ประเมินเพื่อน :  ตั้งใจเรียนให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีน้ำใจช่วยเหลือเพื่อน
ประเมินอาจารย์ : แนะนำเทคนิคการสอนเกี่ยวกับการเรียนรู้ทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอย่างตรงประเด็นและเข้มข้นและแนะแนวหลักการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอย่างตรงประเด็น