วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557



บันทึกอนุทินครั้งที่ 14
วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน 2557

ส่งของเล่นวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาเเต่ละคนพร้อมกับการจัดหมวดหมู่ของเล่นเเต่ละชนิดพร้อมทั้งนี้อาจารย์ก็ได้เเนะนำเทคนิคดีๆในการสรรค์สร้างที่หลากหลายเเละเหมาะสมกับเด็กปฐมวัย




การนำเสนองานวิจัยหน้าชั้นเรียนมีดังนี้

เรื่องที่ 1 เรื่องการพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบศิลปะสร้างสรรค์



ประเมินเด็ก 6 ทักษะ คือ
1. ทักษะการสังเกต
2. ทักษะการจำแนก
3. ทักษะการวัด
4. ทักษะการลงความเห็น
5. ทักษะมิติสัมพันธ์
6. ทักษะการสื่อความหมาย
โดยมีตัวอย่าง 6 กิจกรรมดังต่อไปนี้
ศิลปะย้ำ
ศิลปะปรับภาพ
ศิลปะเลียนเเบบ
ศิลปะถ่ายโยง
ศิลปะบูรณาการ
ศิลปะค้นหา
วิธีการ เช่น (หน่วยเครื่องครัว)
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาทักษะการจำ
เพื่อพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์
เพื่อพัฒนาการลงความเห็น
อุปกรณ์
กะทะ/ตะหลิว/หม้อ/มีด/ทัพพี
สื่อ
ไข่เจียว/เเกงจืด
โดยครูจะใช้คำถามเป็นตัวกระตุ้นเด็ก เช่น" ในการทำอาหารเหล่านี้ใช้เครื่องปรุงอะไรบ้าง "หรือ "ในการประกอบหารเเต่ละชนิดใช้อุปกรณ์ใดบ้างในการประกอบอาหาร"
จากนั้นให้เด็กลงมือทำอาหาร เมื่อเสร็จแล้วให้มาเเลกเปลี่ยนกันชิมและออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน

เรื่องที่ 2  เรื่องการบันทึกประกอบประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่มีต่อความสามารถทางมิติสัมพันธ์

มิติสัมพันธ์คือ ความสามารถในการมองเห็น ความเข้าใจ การสังเกต จำแนก รูปร่าง รูปทรง ขนาด และความสัมพันธ์ของวัตถุ
วิธีการ
1. จัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำต่อสื่อโดยตรง โดยการสังเกต
2. พูดคุยเเละนำเสนอสื่อหน้าชั้นเรียน
3. บันทึกโดยการวาดภาพระบายสี

เรื่องที่ 3เรื่องผลการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการสือเสาะทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้เกิดทักษะการจำแนก





การจำเเนก คือ ความสามรถในการจัดกลุ่ม เรียงลำดับ หาความสัมพันธ์ สถานที่ สิ่งเเวดล้อม ปรากฎการธรรมชาติโดยมีหลักเกณฑ์ ความเหมือน ความต่างหรือความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งโดยใช้เเบบประเมินทักษะการจำแนกสำหรับเด็กปฐมวัยที่ได้สร้างขึ้น

เรื่องที่ 4 เรื่อง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน



  

มีจุดประสงค์
เด็กบอกชื่อ/ชนิดของสัตว์ได้
บอกลักษณะ ความเหมือนความต่าง ของสัตว์ได้
เปรียบเทียบ ขนาด เล็ก/ใหญ่
ร่วมสนทนาพูดคุยกับครู
เล่าหรืออธิบายเรื่องราวได้
ขั้นตอน
1. แบ่งหน่วยการเรียนรู้
2. ใช้แผนการเรียนรู้ของปฐมวัย
3. ใช้เวลาครั้งละ 40 นาที
สรุป
เด็กมีกระบวนการทักษะทางวิทยาศาสตร์ดีขึ้นหลังจากการทำวิจัย
 การทำวาฟเฟล

ขั้นเตรียมอุปกรณ์/วัสดุ


  1. ถ้วยสำหรับตีแป้ง
  2. ถ้วยตวง
  3. ไม้ตีแป้ง
  4. ช้อน/ส้อม
  5. เครื่องทำวาฟเฟล
  6. แปรงทาเนย
  7. แป้งทำวาฟเฟล
  8. ไข่ไก่
  9. เนย
  10. น้ำเปล่า
เตรียมพร้อมแล้วค่ะ





วิธีการทำ

เทเเป้ง 1 ถุงลงในถ้วยสำหรับตีเเป้ง


ตอกไข่ใส่1ฟองพร้อมกับเนย



ตีส่วนผสมให้เข้ากันเติมน้ำเปล่าทีละนิดเพื่อไม่ให้เนื้อปแป้งเหลวมากจนเกินไป



เมื่อได้ตีส่วนผสมทุกอย่างเข้ากันเเล้วเตรียมต่อไปอบขนมกันเลยค่ะโดยก่อนอบเราจะทาเนยที่ตัวเครื่องทำขนมทั้งด้านบนเเละด้านล่าง


เทเเป้งตรงกลางของเครื่องทำขนมปิดฝารอสักครู่จนกว่าไฟที่ตัวเครื่องจะดับเป็นอันเสร็จ



ผลงานหลังทำขนมเสร็จ




เทคนิคการสอนในห้องเรียน

  1. สอนโดยการให้ลงมือกระทำด้วยตนเอง
  2. ใช้คำถามเป้นตัวกระตุ้นเพื่อการนำมาซึ่งคำตอบที่มีความหลากหลาย
  3. ใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษเพือ่เตรียมความพร้อมเข้าสู่ยุคอาเซียน

การนำไปประยุกต์ใช้

  1. สำรวจเเละสังเกตเด็กขณะที่เด็กทำกิจกรรมเพื่อการออกเเบบการเรียนรู้ที่ดีเเละมีประสิทธิภาพสำหรับตเด็กปฐมวัย
  2. การจัดสภาพเเวดล้อมที่ดีมีส่วนช่วยในการเรียนรู้ของเด็กอย่างมาก คือหากสภาพเเวดล้อมดี สะอาด และ ปลอดภัย เด็กจะเปิดประสบการณ์ในการเรียนรู้อย่างเต็มที่
คำศัพท์(Glossary)

  1. การทำอาหาร (Cooking)
  2. สภาพเเวดล้อม (The unit surrounded)
  3. อำนวยความสะดวก (Facilitate)                             
  4. ส่วนผสม (ingredient)
  5. ถ้วยตวง (Measuring)
  6. การทำขนม (Merchants)
  7. มีความสุข (Blessed)

การประเมินหลังการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง ชอบการทำขนมมาก เป็นการทำขนมครั้งเเรก การได้ลงมือทำด้วยตัวเองไม่ว่าจะเป็นเด็ก หรือผุ้ใหญ่ก็สามารถเรียนรู้ได้ดีมากกว่าเรียนในหนังสือ
การประเมินเพื่อน เพื่อนตื่นเต้นกันมากๆ เพื่อมีความสุขกับการทำขนม ในเรียนเเละเล่นในเวลาเดียวกัน
ประเมินอาจารย์ อาจารย์คอยอำนวยความสะดวกในการทำกิจกรรมพร้อมกับหาความรู้เเละข้อมูลใหม่ๆไปพร้อมๆกับนักศึกษาจึงทำให้การเรัียนรู้ออกมามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น






วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


บันทึกอนุทินครั้งที่ 13 
วันพฤหัสบดีที่ 12 ตุลาคม 2557

นำเสนอการวิจัยในชั้นเรียน

เรื่องที่ 1 เรื่องการส่งเสริมทักษะการสังเกตุโดยใช้เกมการศึกษาโดยใช้6กิจกรรม
เนื่องจากเด็กขาดทักษะการสังเกตุโดยมีวัตถุประสงค์คือให้นักเรียนมีทักษะในการสังเกตุเพิ่มมากขึ้นใช้เครื่องมือเป็นการการศึกษาเป็น 4 เกม
1. ภาพเหมือน
2. จับคู่ภาพเงา
3. ภาพตัดต่อ
4. การสังเกตุความเหมือนความต่าง
สรุปอนุบาล 3 ทั้งหมดมีทักษะการสังเกตที่ดีขึ้นโดยใช้กิจกรรมที่ครูคอยกระตุ้นการสังเกตเป็นเครื่องมือต้นๆที่เด็กใช้เก็บข้อมูลในการเรียนรู้

เรื่องที่ 2 เรื่องทักษะทางพื้นฐานของเด็กโดยใช้กิจกรรมการเล่านิทาน
จุดมุ่งหมายคือเพื่อเปรียบเทียบพื้นฐานทั้งก่อนเเละหลังการฟังนิทาน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็น
1. แผนการสอนโดยใช้นิทาน
2. แบบทดสอบทางวิทยาศาสตร์(นิทาน)
โดยมีกิจกรรมต่อเนื่องจากนิทาน เช่น
การจำลองเรือกระดาษ/  ลูกแก้วในนิทานมากกว่า 3ลุก / เรือจมน้อยกว่าเรือที่ลอย
สรุปเด็กมีทักษะการฟังนิทานที่ดีขึ้นโดยผ่านทักษะทางวิทยาศาสตร์เช่น รูปทรง การสังเกตุ  การจำเเนก การสื่อสาร

เรื่องที่ 3 เรื่องการศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
โดยมีวัตถุประสงค์คือ
1. ผลของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
2. เปรียบเทียบ ก่อน - หลังการทดลอง
สรุป ศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาตร์โดยเน้นการทดสอบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1. สร้างความคุ้นเคย
2. ทดสอบด้วยบททดสอบ
3. ประเมินทางสถิติ
เป็นการเรียนการสอนที่ให้อิสระกับเด็ก เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง โดยครูสนทนากับเด็กตลอดกิจกรรม

เรื่องที่ 4 เรื่อง ผลการจัดกิจกรรมจากสีธรรมชาติที่มีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
โดยมีจุดมุ่งหมาย
1. เพื่อศึกษาสีจากธรรมชาติ
2. เพื่อทดสอบเด็ดทั้งก่อน / หลังจากทำกิจกรรม
วิธีการ
กำหนดกลุ่มตัวอย่าง
เรื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
1. แผนการสอนจากสีธรรมชาติ
2. แบบทดสอบทักษะทางวิทยาศาสตร์
ขั้นตอน
1. เปิดให้เด็กค้นหาข้อมูลด้วยตนเอง
2. ทำการทดลองจากสีธรรมชาติ
3. ทำการสังเกตุ
.......การทดสอบด้วยตนเองควรสอนในช่วงการจัดประสบการณ์ เช่น การทำสีจากดอกไม้ 

เรื่องที่ 5 เรื่อง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ได้รับจากการทำศิลปะสร้างสรรค์
เครื่องมือ
1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
2. แบบทดสอบกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง โดยมีครูคอยจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และอำนวยความสะดวกในการทำกิจกรรมให้เเก่เด็กในการทำกิจกรรม เด็กสามารถตอบคำถามด้วยตนเองได้ซึ่งทำให้เด็กเข้าใจเเละจดจำ
การเรียนรู้ตลอดไป

เรื่องที่ 6 เรื่องการคิดวิจารณณานของเด็กที่ได้รับจากการสังเคราะห์
กิจกรรมทางกระบวนการวิทยาศาสตร์ บอกถึงการจัดหมวดหมู่ คุณสมบัติ รูปร่าง ลักษณะ โดยให้เด็กได้ลงมือกระทำ และได้สังเกตุอุปกรณ์
เด็ก ฟัง สังเกต สืบค้น ทดลอง คิดเเก้ปัญหาและสรุปผล
ครูใข้คำถามเพื่อกระตุ้นความคิดของเด็ก จะต้องให้เด็กรับประสลการณ์ตรงด้วยตนเอง ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
การทดลอง
หน่วย ลมฟ้าอากาศ /หน่วยน้ำการไหลของน้ำจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ/การจมการลอย

เรื่องที่ 7 เรื่องการคิดอย่างมีเหตผลของเด็กปฐมวัยที่ใช้ประสบการณ์สร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
จุดหมาย เพื่อเปรียบเทียบความคิดอย่างมีเหตผลระหว่างศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เเละศิลปะเเบบปกติ
เครื่องมือ 
1. แผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
2. แบบทดสอบรูปภาพเหมือนจริงแผนกิจกรรมสร้างภาพจากเมล็ดพืช
กระบวนการ
1. รับรู้ประเด็นปัญหา
2. ทดลองปฏิบิติ/ประเด็นปัญหา
3. หาคำตอบ
4. สรุป

เทคนิคการสอนในห้องเรียน
1. การอธิปรายเหตผลในชั้นเรียน
2. การใช้คำถามกระตุ้นการเรียนรู้ของนักศึกษา
3. การใช้ภาษาต่างประเทศเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ยุคประชาคมอาเซียน

การนำไปประยุกต์ใช้
นำความรู้ที่ได้จากงานวิจัยหลายๆเรื่องมาเปิดโลกทัศน์ของตนเองเพื่อเป็นเเนวทางในการจัดการเรียนรู้เพื่อเด็กปฐมวัยสืบต่อไป

คำศัพท์(Glossary)
1. แผนกิจกรรม(plans)
2. ทักษะ(plans)
3. ปัญหา(issue)
4. เครื่องมือ(tool)
5.จุดประสงค์(aim)
6.ขั้นตอน(step)
7.กระบวนการ( process)

ประเมินหลังการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง มีความรู้เข้าใจในงานวิจัยเรื่องต่างๆพร้อมได้กลยุลใหม่ๆมีจัดกิจกรรมที่มีความหลากหลายและเหมาะสมกับเด็กปฐมวัยมากยิ่งขึ้น
ประเมินเพื่อน เข้าเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม และเสนอเเนวคิดดีๆที่เหมาะกับการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์เเก่เด็กปฐมวัยได้อย่างหลากหลาย
ประเมินอาจารย์ อาจารย์คอยเเนะนำเทคนิคการจัดกิจกรรมและการส่งเสริมกระบวนการวิทยาศาสตร์เพื่อให้การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น




บันทึกอนุทินครั้งที่ 12
วันพฤหัสบดี ที่ 6  เดือน พฤศจิกายน  2557

สำหรับวันนี้เป็นการนำเสนอแผนการสอนของเพื่อนแต่ละกลุ่มดังนี้
การสอนจะแบ่งเป็น 2สัปดาห์
(อาจารย์ได้เเนะนำให้เเต่ละกลุ่มแก้ไขแผนการสอนของตนเองหลังจากนำเสนอเสร็จ)

                                   ( นี่้เป็นแผนที่กลุ่มของข้าพเจ้าแก้ไขเรียบร้อยเเล้วค่ะ )





สัปดาห์ที่ 1

วันจันทร์เรื่องกล้วย
ขั้นนำ: ร้องเพลงเกี่ยวกับกล้วย
ขั้นสอน: นำกล้วยหรือรูปภาพมาให้เด็กดูและทายว่าเป็นกล้วยชนิดใด
ขั้นสรุป: สนทนาเกี่ยวกับกล้วยที่ครูนำมาสอนในขั้นต้น

วันอังคารเรื่องไก่
ขั้นนำ : นิทานเรื่องไก่
ขั้นสอน: นำภาพมาให้เด็กดู
ขั้นสรุป: ทวนคำถามเดิมถึงลักษณะของไก่ และความเหมือนความต่าง
วันพุธเรื่องกบ


ขั้นนำ: ดูVDOวงจรชีวิตของกบ
ขั้นสอน : ถามทวนถึงVDOแล้วจดบันทึก
ขั้นสรุป: ถามคำถามเกี่ยวกับวงจรชีวิตของกบซ้ำทวนการที่ได้สอนไปในข้างต้น

วันพฤหัสบดีเรื่องปลา


ขั้นน้ำ : นิทานเรื่องฝูงปลากับชายประมง
ขั้นสอน : ถามประโยชน์ ข้อพึงระวังของปลาจากนิทานโดยใช้ตาราง
ขั้นสรุป : ทวนความรู้จากตาราง

วันศุกร์เรื่องข้าว
ขั้นนำ : แนะนำอุปกรณ์
ขั้นสอน : ครูสาธิตและให้เด็กลงมือกระทำ
ขั้นสรุป :สนทนาเกี่ยวกับขั้นตอนการประกอบอาหาร

สัปดาห์ที่ 2
วันจันทร์เรื่องต้นไม้
ขั้นนำ: คำคล้องจอง
ขั้นสอน: เอารูปให้ดูแล้วแยกภาพตามเกณฑ์
ขั้นสรุป:ทวนถามคำถามที่ได้เรียนรู้ไปข้างต้นมาสนทนาอีกครั้ง

วันอังคารเรื่องนม


ขั้นนำ: ร้องเพลงนม
ขั้นสอน:นำนมมาให้เด็กสังเกต 2 ชนิด
ขั้นสรุป:สนทนาทวนความรู้เกี่ยวกับลักษณะของนมที่ได้เรียนไปอีกครั้ง

วันพุธเรื่องน้ำ
ขั้นนำ: ร้องเพลง / เล่านิทาน
ขั้นสอน: ร่วมกันทำป้ายห้ามทิ้งขยะ
ขั้นสรุป: นำผลงานของเด็กไปแปะไว้ตามสถานที่ต่างๆ

วันพฤหัสบดีเรื่องมะพร้าว
ขั้นนำ: ร้องเพลง
ขั้นสอน: วิธีการปลูกต้นมะพร้าว
ขั้นสรุป: ให้ได้ออกมาเรียงวิธีการในการปลูกต้นมะพร้าว

วันศุกร์เรื่องผลไม้


ขั้นนำ: แนะนำวัสดุ/อุปกรณ์/เครื่องปรุงรส
ขั้นสอน: ครูสาธิตวิธีการทำผลไม้คลุกเนยโดยแบ่งเป็น 5 โต๊ะกิจกรรมการประกอบอาหาร

  1. เครื่องปรุง
  2. ขั้นตอนการหั่นผลไม้
  3. การตวง
  4. การประกอบอาหาร
  5. การจัดจาน
ขั้นสรุป: ร่วมพูดคุยกับเด็กถึงกระบวนการประกอบอาหารในการทำผลไม้คลุกเนย
เทคนิคการสอนในห้องเรียน

  1.  การใช้เทคโนโลยีมาเป็นสื่อในการเรียนการสอน
  2.  การอธิปรายแสดงความคิดเห็น
  3.  การใช้คำถามเป็นตัวกระตุ้นคำตอบที่หลากหลาย
การนำไปประยุกต์ใช้

  1. รู้ขอบเขตในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  2. การเรียนรู้การเขียนแผนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  3. การนำเอารูปแบบการบูรนาการมาช่วยให้การสอนมีความน่าสนใจเพิ่มมากขึ้น
คำศัพท์

  1. แผนการสอนวิทยาศาสตร์( Science Lesson Plan)
  2. ขอบข่ายการศึกษา( Scope of Study)
  3. สิ่งรอบตัว(surroundings)
  4. การประกอบอาหาร(Manufacturers)
  5. ชนิด(Type)
  6. การดูแลรักษา(Maintenance)
การประเมินการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง นำเสนอแผนการสอนในวันที่ตนเองได้รับมอบหมายออกมาได้ดี มีเพียงข้อเพิ่มเติมจากอาจารย์ที่จะทำให้แผนการสอนมประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้น
ประเมินเพื่อน บางกลุ่มก็ไม่ค่อยเข้าใจในการเขียนแผนเท่าที่ควรทำให้การเขียนแผนผิดวัตถุประสงค์ในการสอนของแต่ละวันทั้งนี้อาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขให้ดีกว่าเดิม
ประเมินอาจารย์ คอนชี้แนะและแนะนำวิธีการเขียนแผนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ถูกต้องให้กับนักศึกษาในแต่ละกลุ่มอย่างละเอียดคอยบอกเทคนิคในการเข้าไปสอนเด็กในสถานการณจริงๆ

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

วันพฤหัสบดี ที่ 30 เดือนตุลาคม 2557


สรุปความรู้ได้ดังต่อไปนี้

ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย



    การทดลองในห้องเรียน

การปั้นดินน้ำมัน โดยมีการทดลองดังต่อไปนี้



 ให้แต่ละคนปั้นดินน้ำมันแล้วนำดินน้ำมันมาลอยในน้ำ
 ผลการทดลอง
 การปั้นดินน้ำมันเป็นก้อนกลมๆจะทำให้ดินน้ำมันจม
 การปั้นดินน้ำมันแบนๆจะทำให้ดินน้ำมันลอยน้ำได้

 การพับกระดาษเป็น4 กลีบ โดยมีการทดลองดังนี้


ให้พับกระดาษเป็นรูปดอกไม้โดยจะมีกระดาษให้ 2ประเภทคือกระดาษร้อยปอนด์และกระดาษA4จากนั้นพับกลีบกระดาษเข้าหากัน แล้วนำไปลอยน้ำนำการสังเกต
ผลการทดลอง
กระดาษA4จะคลายตัวเร็วกว่ากระดาษร้อยปอนด์เพราะมีเยื่อของกระดาษที่บางกว่า


 การทดลองเจาะแก้วน้ำ 3 ระดับ โดยมีการทดลองดังนี้



เจาะขวดน้ำให้เป็น 3 ระดับ คือ ระดับสูง ระดับกลาง และระดับต่ำนำเทปกาวมาแปะปิดรูไว้ทั้งหมดจาก  นั้นลอกเทปกาวออกทีละระดับให้เด็กสังเกตว่าการเจาะน้ำในระดับใดที่มีน้ำพุ่งออกมาเร็วที่สุด
ผลการทดลอง
น้ำจะไหลได้ไกลและแรงที่สุดคือน้ำที่อยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดเนื่องจากแรงดันของน้ำทำให้น้ำนั้นพุ่งออก  มาได้แรงและไกลที่สุด



การทดลองคุณสมบัติของน้ำโดยมีการทดลองดังนี้



นำขวดน้ำมาต่อกับปลายสายของภาชนะแล้วต่อสายยางโดยที่ให้มีภาชนะรองรับจากนั้นทำการสังเกต
ผลการทดลอง
สายยางที่อยู่ในระดับที่ต่ำจะมีน้ำไหลมาตามสายยางเพราะคุณสมบัติของน้ำจะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำเสมอ

การทดลองการจุดเทียน โดยมีการทดลองดังนี้



จุดเทียนไว้หนึ่งเล่มนำแก้วมาคลอบเทียนไว้แล้วสังเกตตัวของแท่งเทียน
ผลการทดลอง
เทียนจะค่อยๆดับลงไปเนื่องจากด้านในของแก้วไม่มีอากาศ


 การทดลองแก้วน้ำขยายปากกา โดยมีการทดลองดังนี้




เตรียมน้ำ 1 แก้ว นำปากกา 1 ด้ามหย่อนลงไปในแก้วน้ำที่เตรียมไว้สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง

ผลการทดลอง
จากการมองทะลุงผ่านแก้วน้ำจะเห็นได้ว่า ปากกาจะมีการขยายขึ้นเพิ่มจากเติมเนื่องจากความหักเหของแสง

เทคนิคการสอนในห้องเรียน
การเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านกระลงมือปฏิบัติจริง
การอธิปรายแสดงความคิดเห็น
การใช้สื่อนำมาประยุกต์ในการทดลอง

การนำไปประยุกต์ใช้
รู้ขอบเขตในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เข้าใจธรรมชาติในการเรียนรู้ของเด็กเพิ่มมากขึ้น
นำความรู้ต่างๆมาประยุกต์เช้ากับหน่อยการเรียนรู้ต่างๆ เช่น หน่วยน้ำ

คำศัพท์(Glossary)
ขวดน้ำ(Bottles )
เทียน(CANDLE  )
กรอบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์(  Framework of the system )
การสังเกตการเปลี่ยนแปลง(   The observed changes )
แรงดันน้ำ(Pressure  )
ความดันอากาศ(Air Pressure )

การประเมินการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง เข้าใจเนื้อหาดีมากให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
ประเมินเพื่อน มีการแสดงความคิดเห็นที่หลากหลายเข้าเรียนตรงเวลาและมีน้ำใจในการช่วยเหลือ    เพื่อน
ประเมินอาจารย์ ชอบอาจารย์สอนสนุกที่ได้ลงมือทำจริงๆช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงคอยแนะ    ยำเทคนิคต่างๆมากมายในการใช้ความรู้ไปถ่ายทอดกับเด็กและสถานการณ์จริงในอนาคต