วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557


บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม 2557

ความรู้ที่ได้รับ
การนำเสนอวิจัยหน้าชั้นเรียน




เรื่อง: การส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์การลงสรุปสำหรับเด็กปฐมวัย    ค้นคว้าเพิ่มเติม

ตัวอย่างแผนกิจกรรม: ไข่หมุน
อุปกรณ์
  1. ไข่ต้ม
  2. ไข่ดิบ
วิธีการ
  1. เด็กน้ำไข่ต้มมาหมุนเเล้วสังเกตการหมุนของไข่ต้มว่ามีลักษณะอย่างไร
  2. เด็กนำไข่ดิบมาหมุนเเล้วสังเกตการหมุนของไข่ดิบว่ามีลักษณะอย่างไร
  3. นำไข่ดิบเเละไข่ต้มมาหมุนพร้อมๆกันเเล้วสังเกตความเเตกต่างในการหมุนของไข่ทั้งสอง
  4. เด็กบอกลักษณะการหมุนทั้งเเตกต่างกันของไข่ทั้งสองฟองและบันทึก
  5. ครูเเละเด็กร่วมกันสรุปความคิดเห็น
ท้ายคาบ:  อาจารย์ให้นักศึกษาเเต่ละกลุ่มจัดทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่เด็กจะได้เรียนรู้ตลอด                    1 สัปดาห์

ตัวอย่างแผ่นพับประชาสัมพันธ์












องค์ประกอบการทำแผ่นพับ

  1. ตราโรงเรียน
  2. ชื่อโรงเรียน
  3. หน่วยการเรียนรู้
  4. ชื่อ-สกุลเด็ก
  5. ชื่อครูประจำชั้น
  6. ข่าวสารประชาสัมพันธ์หน่วยการเรียนรู้ในสัปดาห์นี้
  7. สาระการเรียนรู้และแบบขอความร่วมมือในการปฏิบัติร่วมกับห้องเรียน
  8. เพลงหรือเกมที่เกี่ยวกับหน่วยการเรียนรู้
การนำไปประยุกต์ใช้

  1. หากเด็กสังสัยจนเกิดคำว่า....." อ่ะ ' เอ๊ะ ' โอ๊ะ"คือความประสบความสำเร็จในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเพราะจะทำให้เด็กเกิดความสงสัยเเเละคิดค้นหาคำตอบเพื่อนสนองความต้องการ ความอยากรู้ อยากเห็นของตัวเด็กเอง
  2. การประชาสัมพันธ์ของทางโรงเรียนจะช่วยเป็นการเผยเเพร่ความรู้แก่ผู้ปกครองเเละยังทำให้ผู้ปกครองได้ทราบว่าบุตรหลานของท่านเรียนอะไรบ้างในเเต่ละสัปดาห์พร้อมกันนี้ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ปกครองและครูประจำชั้นรวมไปถึงการขอความอนุเคราะห์จากผู้ปกครองในการให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในห้องเรียนอีกด้วย
เทคนิกกการสอนในห้องเรียน
  1. การใข้คำถามกระตุ้นคำตอบจากนักศึกษาเพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบที่หลากหลาย
  2. การใช้เทคโนโลยีในการสอน เช่น โปเจคเตอร์ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
  3. การตั้งคำถามเพื่อหาคำตอบของงานวิจัย
คำศัพท์(Glossary)
  1. การประชาสัมพันธ์(Public relations)
  2. แผ่นพับ(Flap)
  3. การสรุปผล(Conclusive)
  4. การให้ความร่วมือ(The collaborative)
  5. เกมการศึกษา(Educational game)
  6. องค์ประกอบ(Elements)
การประเมินหลังการเรียน
ประเมินตนเอง: มีความละเอียดรอบครบในการทำงานมากยิ่งขึ้น มีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นจากเดิมมากๆเข้าใจเนื้อหาที่เรียนภายในห้องเรียน แต่งกายสุภาพ อาจจะมีเข้าเรียนาสยบางแต่จะพยามปรับปรุงในดียิ่งขึ้นต่อไปค่ะ
ประเมินเพื่อน: เพื่อนมีความตรงต้องเวลาในการเข้าเรียนในรายวิชานี้มาก ตั้งใจเรียน เเเต่งกายสุภาพเรียบร้อย ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมภายในชั้นเรียนเป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์: อาจารย์คอยสอนคอยเตือนตลอดที่เรียนในรายวิชานี้ใช่ว่าจะเเค่ความรู้ในรายวิชา แต่ท่านยังสอนไปถึงการวางตัวในการทำงาน การดำรงชีวิตในสังคม การทำงานร่วมกับผู้อื่น และการรับผิดชอบต่องานที่ตนเองได้รับท่านถ่ายทอดเนื้อหาความรู้ให้ศิษย์อย่างเต็มที่อย่างไหนที่ไม่เข้าใจท่านก็จะอธิบายจนกว่าศิษย์จะเข้าใจจึงทำให้การเรียนรู้เต็มเปี่ยมไปด้วยเข้าใจในเนื้อหานั้นๆ




วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2557



    บันทึกอนุทินครั้งที่ 15 

     วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน 2557

สรุปความรู้ทีได้ในวันนี้
การนำเสนอวิจัยหน้าชั้นเรียน
เรื่องที่ 1 การสร้างขุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย                                  ค้นคว้าเพิ่มเติม
เรื่องที่ 2 ผลการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียนที่มีต่อทักษะการสังเกตของเดด็ก                    ปฐมวัย    ค้นคว้าเพิ่มเติม
เรื่องที่ 3 การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์                             ค้นคว้าเพิ่มเติม

การนำเสนอโทรทัศน์ครูหน้าชั้นเรียน
เรื่องที่ 1จุดประกายนักวิทยาศาตร์น้อย
เรื่องที่ 2 สอนวิทย์คิดสนุกกับเด็กปฐมวัย
เรื่องที่ 3 อนุบาล3 เรียนวิทยาศาสตร์สนุก
เรื่องที่ 4 กิจกรรมสะเทือนน้ำสะเทือนบกเเละจรวจ
เรื่องที่ 5 ขวดปั๊บเเละลิฟเทียน
เรื่องที่ 6 สื่อเเสงแสนสนุก
เรื่องที่ 7 พลังจิตคิดไม่ซื่อ
เรื่องที่ 8 ทะเลฟองสีรุ้ง
เรื่องที่ 9 บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
เรื่องที่ 10 ความลับของใบบัว 
เรื่องที่ 11 สนุกวิทย์คิดทดลอง ไข่ในน้ำ
เรื่องที่ 12 สาดสีสนุก

เทคนิกการสอนในห้องเรียน
  1. การร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยที่เพื่อนออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน เพื่อสร้างความเข้าใจในงานวิจัยฉบับนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ
  2. การใช้คำถามจากอาจารย์เพื่อเป็นตัวกระะตุ้นการเรียนรู้ในชั้นเรียนเพื่อให้ให้ได้ซึ่งความคิดเเละคำตอบที่มีความหลากหลาย
การนำไปประยุกต์ใช้

          เพื่อเป็นการเปิกโลกทัศน์ในการเรียนรู้สิ่งใหม่ที่เกี่ยวข้องกับสาขาที่เรียนของตนเองให้มีความหลากหลายเเละใช้เป็นเเนวทางในการจัดการเรียนรู้เเละเเนวทางการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัยพร้อมๆกับการร่วมพัฒนาเด็กแบบองค์รวมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

คำศัพท์(Glossary)
  1. ค้นคว้าเพิ่มเติม (further Research)
  2. การวิเคราะห์ข้อมูล(Data Analysis)
  3. กระตุ้นการเรียนรู้(Stimulate learning)
  4. ความหลากหลายทางความคิด(The diversity of ideas)
  5. กิจกรรมวิทยาศาสตร์(Science Activities)
  6. งานวิจัย(research)
การประเมินหลังการสอน

ประเมินตนเอง : มีความเข้าใจเนื้อหา ให้ความร่วมมือ เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อบ
ประเมินเพื่อน : ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียน แต่งกายเรียบร้อย
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์คอยเเนะนำเทคนิคในการหางานวิจัยที่สมบูรณ์และสามารถในมาใช้ในการ     จัดการเรียนรู้และจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสำหรับเด็กปฐมวัย







สรุปงานวิจัยของตนเอง 



     เรื่อง กระบวนการส่งเสริมการเเก้ไขปัญหาของเด็กปฐมวัย         โดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามเเนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ คลิก

จุดมุ่งหมายของการวิจัย
  1. เพื่อทำความเข้าใจเเละอธิบายกระบวนการส่งเสริมการเเก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย
  2. เพื่อทำความเข้าใจเเละอธิบายระยะการเปลี่ยนเเปลงของเด็กปฐมวัย
ขอบเขตการวิจัย

          ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียน ชาย - หญิง อายุ 5-6ปีจำนวน32คนที่กำลังศึกษาอยุ่ในระดับชั้นอนุบาลที่2ภาคเรียนที่2ปีกาลศึกษา 2543โรงเรียนวัดอุทัยธาราม สังกัดสำนักงานประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร

ตัวเเปรที่ใช้ในการศึกษา

          กระบวนการส่งเสริมการเเก้ไขปัญหาของเด็กปฐมวัย

นิยามศัพท์เฉพาะ

         เด็กปฐมวัย หมายถึง นักเรียน ชาย - หญิง อายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยุ่ในระดับชั้นอนุบาลที่2         ภาคเรียนที่2ปีกาลศึกษา 2543โรงเรียนวัดอุทัยธาราม สังกัดสำนักงานประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร
         กระบวนการส่งเสริมการเเก้ปัญหา หมายถึง การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามเเนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่เน้นให้เด็กเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ  ครูเป็นผู้เเนะนำ สนับสนุน ส่งเสริม โดยคำนึงถึงประสบการณ์เดิมของเด็ก การจัดกิจกรรมตามสภาพจริงการไตร่ตรองข้อมูลเเละการนำข้อมูลที่ได้จริงมาสะท้อน วิเคราะห์เเละประเมินอย่างเป็นระบบโดยใช้ปัจัยสำคัญของเเนวคิดคอนสตรัคติวิสต์    
ดังนี้

  1. การเรียนรู้จากการลงมือปฎิบัติ
  2. การจัดกิจกรรมตามสภาพจริง
  3. ประสบการณ์เดิมของเด็ก
  4. ปฏิสัมพันธ์ครูเเละเด็ก
  5. การไตร่ตรองข้อมูล
        กิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามเเนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ หมายถึง การจัดกิจกรรมเสริมความรู้ เเละความสนใจของเด็กในสิ่งที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ทั่วไป โดยเปิดโอกาสให้เด็กได้ สังเกต ซักถาม             ค้นคว้าคำตอบ สรุปและอภิปรายผลตามความคิดของเด็ก
        การเเก้ปัญหา หมายถึง ร่องรอย พฤติกรรมที่เด็กทำ เมื่อมีสถานการณ์เกิดขึ้น การเเก้ปัญหาอาจทำเป็นกลุ่มหรือรายบุคคล โดยใช้ความรู้ ความคิด และประสบการณ์ช่วย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

  1. แบบบันทึกเหตุการณ์
  2. แบบวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์
  3. แบบบันทึกการพัฒนาการเเก้ปัญหา                                                                                              
วิธีการดำเนินการวิจัย


          ดำเนินการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามเเนวคิดคอนสตรัคติวิสต์กับกลุ่มตัวอย่าง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ4 วัน วันละ60นาที รวม32 ครั้ง

สรุปผลการวิจัย
ผลการส่งเสริมการเเก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามเเนวคิดคอนสตรัคติวิสต์
สรุปได้ดังนี้

  1. การปรับบทบาทตนเองของผู้วิจัยขณะจัดกิจกรรมวิทยาศาสรต์ตามเเนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ ดังนี้ผู้วิจัยเป็นผู้นำเสนอกิจกรรมในสัปดาห์ที่ 1-2ส่วนบทบาทในการตั้งคำถาม สังเกตุและรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยให้ความสำคัญทุกสัปดาห์
  2. เด็กมีการเปลี่ยนเเปลงการเเก้ปัญหาตามระยะเวลา ดังนี้                                                                   สัปดาห์ที่ 1-2 เด็กมีพฤติกรรมนิ่งเฉย หลีกเลี่ยงและไม่เข้าร่วมเเก้ไขปัญหาเมื่อเกิดสถานการณ์ปัญหาในสัปดาห์ที่ 3-4 เด็กมีพัฒานาการเเก้ปัญหาที่เป็นกลุ่มหรือรายบุคคลได้แต่ด้วยวิธีการที่ไม่เหมาะสม สัปดาห์ที่ 5-8 เด็กมีพัฒนาการเเก้ปัญหาที่เป็นกลุ่มหรือรายบุคคลได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ปัญหา                                                              




วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557


                 คิดวิทย์Eureka

            การทดลองวิทยาศาสตร์ฟองสบู่มหัศจรรย์






สาเหตุการทดลองที่1
เพราะตรงทรงลูกบาศก์จะทำให้ฟองสบู่เข้าไปจับในมุมทั้ง4ของสี่เหลี่ยมจนเกิดรูปตรงกลางที่เหมือนถ้วยคว่ำประกบกันเอาไว้เมื่อเราเป่าลูกโป่งวงกลมธรรมดาลงไปตรงกลางของสี่เหลี่ยมฟองก้จะเข้าไปจับตัวตามรูปทรงของลูกบาสก์

สาเหตุการทดลองที2
เพราะปกติในการเป่าฟองสบู่จะมีรูประบายอากาศเพียงเเค่รูเดียวแต่เมื่อเรานำผ้าขนหนูที่มีรูประบายอากาศระหว่างเส้นใยผ้าเล็กๆอยู่หลายรูจึงทำให้อากาศกระจายตัวไปสัมผัสกับน้ำยาล้างจานเเละกลายเป็ยฟองสบู่สายเล็กๆออกมาจากขวด







สรุปเรื่องอากาศ



อากาศ.....เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเราเราสามารถรับรู้ว่ามีอากาศอยุ่รอบๆตัวเราโดยการ โบกมือไปมากระเเสลมที่เกิดขึ้นและปะทะกับฝ่ามือเานั้นเเสดงว่าอากาศมีอยู่จริงหรือถ้าเรายืนอยู่ในที่ที่มีลมพัดผ่านเราจะรุ้สึกว่ามีอากาศหรือลมมาถุกตัวเราเเรงลมสามารถทำให้เกิดคลื่นน้ำหรือหมุนกังหันได้

ส่วนประกอบของอากาศ
  1. ก๊าซไนดตรเจน 78 %
  2. ก๊าซออกซิเจน   21 %
  3. ก๊าซอื่นๆ              1%
คุณสมบัติของอากาศ
  1. อากาศมีตัวตนสามารถสัมผัสได้
  2. อากาศมีน้ำหนัก
  3. อากาศต้องการที่อยู่
  4. อากาศสามารถเคลื่อนที่ได้
อุณหภูมิ......คือระดับความร้อนหนาวของอากาศถ้าอากาศหนาวอุหภูมิจะต่ำลงถ้าอากาศร้อนอุหภูมิจะสูงขึ้นเครื่องมือที่ใช้วัดระดับอุหภูมิคือ เทอร์โมมิเตอร์ มีหน่วยเป็นองศาเซลเซียสและองศาฟาเรนไฮต์

เทอร์โมมิเตอร์......มีลักษณะคล้ายหลอดเเก้วหัวท้ายปิดมีกระเปาะเล็กๆอยู่ตรงปลายด้านหนึ่งภายในกระเปาะบรรจุของเหลวเมื่ออากาศร้อนของเหลวจะจะเคลื่อนตัวอยู่ในระดับที่สุงขึ้นเราเรียกว่า"อุณหภูมิสูง"แต่ถ้าอากาศหนาวของเหลวจะหดตัวลงในระดับที่ต่ำลงเราเรียกว่า"อุณหภูมิต่ำ"
           ดังนั้นอากาศเป็นสิ่งจำเป็นต่อการหายใจของสิ่งมีชีวิตบนโลกทั้งยังคอยช่วยปรับอุณหภูมิของโลกไม่ให้ร้อนหรือหนาวจนเกินไปนอกจากนั้นบรรยากาศยังช่วยห่อหุ่มโลกเพื่อกรองรังสีอุตรไวโอเลตไม่ให้ผ่านเข้ามายังโลกมากจนเกินไปซึ่งจะเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ช่วยป้องกันอัตรายจากนอกโลก เข่น อุตกาบาต ขยะอวกาศ ทำให้เกิดเมฆฝนสิ่งงเป็นสิ่งสำคัญในการทำการเกษตรในประเทศ





       








วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557


 สรุปบทความเรื่อง....นักสำรวจน้อย คลิก


(โดยรองศาสตราจารย์ นภเนตร ธรรมบวร)



สรุป

             เป็นที่ทราบกันดีว่าวัยเด็กเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นเด็กในวัยนี้มักแอบสำรวจสิ่งต่างๆรอบตัวอยู่เสมอโดยเด็กไม่รู้เลยว่าสิ่งที่ตนกำลังทำอยู่นั้นเป็นกระบวนการหนึ่งในการสืบค้นหาคำตอบมางวิทยาศาสตร์การสำรวจเป็นคุณสมบัติที่เด็กเกือบทุกคนมีอยู่ในตนเองเพียงเเต่บางครั้งการเเสดงออกซึ่งความอยากรู้อยากเห็นจึงไม่เหมาะสมจึงทำให้ผู้ใหญ่มองข้ามหรือละเลยไป การฝึกใช้ให้เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการรับรู้และสำรวจสิ่งต่างๆรอบตัว การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำข้อมูลที่ได้ไปสื่อสารนั้นถือเป็นทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญมาก ผู้ปกครองสามารถจัดกิจกรรมง่ายๆที่บ้านด้วยตนเองเพื่อฝึกให้ลูกให้ใช้ประสาทสัมผัสได้เช่นกันโดยเริ่มต้นจากการชี้ชวนให้ลูกสังเกตธรรมชาติรอบตัว เช่น ต้นไม้ ดอกไม้และเเมลงต่างๆในขั้นนี้ผู้ปกครองอาจจะกระตุ้นลูกให้วาดสิ่งของที่สังเกตเห็นควบคู่ไปด้วยเเละมีการพูดคุยเกี่ยวกับรายละเอียดของสิ่งที่ลูกสังเกตว่า ลูกสังเกตเห็นอะไรบ้าง มีสีอะไร มีขนาดเท่าไหร่ เมื่อลูกมีการคุ้นเคยและชำนาญมากขึ้นผู้ปกครองอาจจะเล่นเกมกับลูกโดยอาจให้ลูกเป็นคนสังเกตและนำขอมูลมาสื่อสารให้ผู้ปกครองเป็นผู้วาดหรืออาจจะสลับบทบาทกันก็ได้ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ไม่ใช่การศึกษาเเบบแยกส่วนเเบบที่หลายๆคนเข้าใจแต่เป็นการเรียนรู้เเบบบูรณาการระหว่างวิทยาศาสตร์เเละศิลปะ เป็นศาสตร์ของการเชื่อมโยงผสมผสานระหว่างสื่งที่อยู่ใกล้ตัวและความงามในธรมมชาติเข้าด้วยกัน อันจะนำไปสู่ก่รพัฒนาเจตคติในทางบวกต่อการดำรงค์ชีวิตของเด็กต่อไปในอนาคต

 สาเหตของการเลือกบทความเรื่องนี้เพราะ

            จริงอยู่ว่าบทความที่ข้าพเจ้าเลือกมานั้นได้กล่าวถึงเด็กในวัย 8-9ปี  แต่ทักษะการสังเกตนั้นถือได้ว่าเป็นทักษะพื้นฐานในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ซึ่งวิทยาศาสตร์นั้นสามารถเรียนได้ตั้งเเต่ในระดับ อนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา หรือในการศึกษาในระดับขั้นที่สูงกว่านี้ สำหรับการสอนวิทยาศาสตร์ในระดับเด็กปฐมวัยนั้นราสามรถนำมาประยุกต์ในการสอนได้ ซึ่งอาจจะเป็นการสำรวจซึ่งต่างๆรอบตัวรวมไปถึงการทำการทดลองทีมีขั้นตอนไม่ยุ่งยากซับซ้อน เเต่เกิดกระบวนการในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เริ่มจากเรื่องใกล้ตัวเด็กไปจนถึงเรื่องที่ใกล้ตัวเด็กออกไป ซึ่งจะเป็นการปลูกฝังทัศนคติที่ดีในการเรียนรู้เเละนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดการเรียนรู้ในขั้นต่อไปในอนาคต













วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557



บันทึกอนุทินครั้งที่ 14
วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน 2557

ส่งของเล่นวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาเเต่ละคนพร้อมกับการจัดหมวดหมู่ของเล่นเเต่ละชนิดพร้อมทั้งนี้อาจารย์ก็ได้เเนะนำเทคนิคดีๆในการสรรค์สร้างที่หลากหลายเเละเหมาะสมกับเด็กปฐมวัย




การนำเสนองานวิจัยหน้าชั้นเรียนมีดังนี้

เรื่องที่ 1 เรื่องการพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบศิลปะสร้างสรรค์



ประเมินเด็ก 6 ทักษะ คือ
1. ทักษะการสังเกต
2. ทักษะการจำแนก
3. ทักษะการวัด
4. ทักษะการลงความเห็น
5. ทักษะมิติสัมพันธ์
6. ทักษะการสื่อความหมาย
โดยมีตัวอย่าง 6 กิจกรรมดังต่อไปนี้
ศิลปะย้ำ
ศิลปะปรับภาพ
ศิลปะเลียนเเบบ
ศิลปะถ่ายโยง
ศิลปะบูรณาการ
ศิลปะค้นหา
วิธีการ เช่น (หน่วยเครื่องครัว)
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาทักษะการจำ
เพื่อพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์
เพื่อพัฒนาการลงความเห็น
อุปกรณ์
กะทะ/ตะหลิว/หม้อ/มีด/ทัพพี
สื่อ
ไข่เจียว/เเกงจืด
โดยครูจะใช้คำถามเป็นตัวกระตุ้นเด็ก เช่น" ในการทำอาหารเหล่านี้ใช้เครื่องปรุงอะไรบ้าง "หรือ "ในการประกอบหารเเต่ละชนิดใช้อุปกรณ์ใดบ้างในการประกอบอาหาร"
จากนั้นให้เด็กลงมือทำอาหาร เมื่อเสร็จแล้วให้มาเเลกเปลี่ยนกันชิมและออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน

เรื่องที่ 2  เรื่องการบันทึกประกอบประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่มีต่อความสามารถทางมิติสัมพันธ์

มิติสัมพันธ์คือ ความสามารถในการมองเห็น ความเข้าใจ การสังเกต จำแนก รูปร่าง รูปทรง ขนาด และความสัมพันธ์ของวัตถุ
วิธีการ
1. จัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำต่อสื่อโดยตรง โดยการสังเกต
2. พูดคุยเเละนำเสนอสื่อหน้าชั้นเรียน
3. บันทึกโดยการวาดภาพระบายสี

เรื่องที่ 3เรื่องผลการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการสือเสาะทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้เกิดทักษะการจำแนก





การจำเเนก คือ ความสามรถในการจัดกลุ่ม เรียงลำดับ หาความสัมพันธ์ สถานที่ สิ่งเเวดล้อม ปรากฎการธรรมชาติโดยมีหลักเกณฑ์ ความเหมือน ความต่างหรือความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งโดยใช้เเบบประเมินทักษะการจำแนกสำหรับเด็กปฐมวัยที่ได้สร้างขึ้น

เรื่องที่ 4 เรื่อง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน



  

มีจุดประสงค์
เด็กบอกชื่อ/ชนิดของสัตว์ได้
บอกลักษณะ ความเหมือนความต่าง ของสัตว์ได้
เปรียบเทียบ ขนาด เล็ก/ใหญ่
ร่วมสนทนาพูดคุยกับครู
เล่าหรืออธิบายเรื่องราวได้
ขั้นตอน
1. แบ่งหน่วยการเรียนรู้
2. ใช้แผนการเรียนรู้ของปฐมวัย
3. ใช้เวลาครั้งละ 40 นาที
สรุป
เด็กมีกระบวนการทักษะทางวิทยาศาสตร์ดีขึ้นหลังจากการทำวิจัย
 การทำวาฟเฟล

ขั้นเตรียมอุปกรณ์/วัสดุ


  1. ถ้วยสำหรับตีแป้ง
  2. ถ้วยตวง
  3. ไม้ตีแป้ง
  4. ช้อน/ส้อม
  5. เครื่องทำวาฟเฟล
  6. แปรงทาเนย
  7. แป้งทำวาฟเฟล
  8. ไข่ไก่
  9. เนย
  10. น้ำเปล่า
เตรียมพร้อมแล้วค่ะ





วิธีการทำ

เทเเป้ง 1 ถุงลงในถ้วยสำหรับตีเเป้ง


ตอกไข่ใส่1ฟองพร้อมกับเนย



ตีส่วนผสมให้เข้ากันเติมน้ำเปล่าทีละนิดเพื่อไม่ให้เนื้อปแป้งเหลวมากจนเกินไป



เมื่อได้ตีส่วนผสมทุกอย่างเข้ากันเเล้วเตรียมต่อไปอบขนมกันเลยค่ะโดยก่อนอบเราจะทาเนยที่ตัวเครื่องทำขนมทั้งด้านบนเเละด้านล่าง


เทเเป้งตรงกลางของเครื่องทำขนมปิดฝารอสักครู่จนกว่าไฟที่ตัวเครื่องจะดับเป็นอันเสร็จ



ผลงานหลังทำขนมเสร็จ




เทคนิคการสอนในห้องเรียน

  1. สอนโดยการให้ลงมือกระทำด้วยตนเอง
  2. ใช้คำถามเป้นตัวกระตุ้นเพื่อการนำมาซึ่งคำตอบที่มีความหลากหลาย
  3. ใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษเพือ่เตรียมความพร้อมเข้าสู่ยุคอาเซียน

การนำไปประยุกต์ใช้

  1. สำรวจเเละสังเกตเด็กขณะที่เด็กทำกิจกรรมเพื่อการออกเเบบการเรียนรู้ที่ดีเเละมีประสิทธิภาพสำหรับตเด็กปฐมวัย
  2. การจัดสภาพเเวดล้อมที่ดีมีส่วนช่วยในการเรียนรู้ของเด็กอย่างมาก คือหากสภาพเเวดล้อมดี สะอาด และ ปลอดภัย เด็กจะเปิดประสบการณ์ในการเรียนรู้อย่างเต็มที่
คำศัพท์(Glossary)

  1. การทำอาหาร (Cooking)
  2. สภาพเเวดล้อม (The unit surrounded)
  3. อำนวยความสะดวก (Facilitate)                             
  4. ส่วนผสม (ingredient)
  5. ถ้วยตวง (Measuring)
  6. การทำขนม (Merchants)
  7. มีความสุข (Blessed)

การประเมินหลังการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง ชอบการทำขนมมาก เป็นการทำขนมครั้งเเรก การได้ลงมือทำด้วยตัวเองไม่ว่าจะเป็นเด็ก หรือผุ้ใหญ่ก็สามารถเรียนรู้ได้ดีมากกว่าเรียนในหนังสือ
การประเมินเพื่อน เพื่อนตื่นเต้นกันมากๆ เพื่อมีความสุขกับการทำขนม ในเรียนเเละเล่นในเวลาเดียวกัน
ประเมินอาจารย์ อาจารย์คอยอำนวยความสะดวกในการทำกิจกรรมพร้อมกับหาความรู้เเละข้อมูลใหม่ๆไปพร้อมๆกับนักศึกษาจึงทำให้การเรัียนรู้ออกมามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น