วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557


บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม 2557

ความรู้ที่ได้รับ
การนำเสนอวิจัยหน้าชั้นเรียน




เรื่อง: การส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์การลงสรุปสำหรับเด็กปฐมวัย    ค้นคว้าเพิ่มเติม

ตัวอย่างแผนกิจกรรม: ไข่หมุน
อุปกรณ์
  1. ไข่ต้ม
  2. ไข่ดิบ
วิธีการ
  1. เด็กน้ำไข่ต้มมาหมุนเเล้วสังเกตการหมุนของไข่ต้มว่ามีลักษณะอย่างไร
  2. เด็กนำไข่ดิบมาหมุนเเล้วสังเกตการหมุนของไข่ดิบว่ามีลักษณะอย่างไร
  3. นำไข่ดิบเเละไข่ต้มมาหมุนพร้อมๆกันเเล้วสังเกตความเเตกต่างในการหมุนของไข่ทั้งสอง
  4. เด็กบอกลักษณะการหมุนทั้งเเตกต่างกันของไข่ทั้งสองฟองและบันทึก
  5. ครูเเละเด็กร่วมกันสรุปความคิดเห็น
ท้ายคาบ:  อาจารย์ให้นักศึกษาเเต่ละกลุ่มจัดทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่เด็กจะได้เรียนรู้ตลอด                    1 สัปดาห์

ตัวอย่างแผ่นพับประชาสัมพันธ์












องค์ประกอบการทำแผ่นพับ

  1. ตราโรงเรียน
  2. ชื่อโรงเรียน
  3. หน่วยการเรียนรู้
  4. ชื่อ-สกุลเด็ก
  5. ชื่อครูประจำชั้น
  6. ข่าวสารประชาสัมพันธ์หน่วยการเรียนรู้ในสัปดาห์นี้
  7. สาระการเรียนรู้และแบบขอความร่วมมือในการปฏิบัติร่วมกับห้องเรียน
  8. เพลงหรือเกมที่เกี่ยวกับหน่วยการเรียนรู้
การนำไปประยุกต์ใช้

  1. หากเด็กสังสัยจนเกิดคำว่า....." อ่ะ ' เอ๊ะ ' โอ๊ะ"คือความประสบความสำเร็จในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเพราะจะทำให้เด็กเกิดความสงสัยเเเละคิดค้นหาคำตอบเพื่อนสนองความต้องการ ความอยากรู้ อยากเห็นของตัวเด็กเอง
  2. การประชาสัมพันธ์ของทางโรงเรียนจะช่วยเป็นการเผยเเพร่ความรู้แก่ผู้ปกครองเเละยังทำให้ผู้ปกครองได้ทราบว่าบุตรหลานของท่านเรียนอะไรบ้างในเเต่ละสัปดาห์พร้อมกันนี้ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ปกครองและครูประจำชั้นรวมไปถึงการขอความอนุเคราะห์จากผู้ปกครองในการให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในห้องเรียนอีกด้วย
เทคนิกกการสอนในห้องเรียน
  1. การใข้คำถามกระตุ้นคำตอบจากนักศึกษาเพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบที่หลากหลาย
  2. การใช้เทคโนโลยีในการสอน เช่น โปเจคเตอร์ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
  3. การตั้งคำถามเพื่อหาคำตอบของงานวิจัย
คำศัพท์(Glossary)
  1. การประชาสัมพันธ์(Public relations)
  2. แผ่นพับ(Flap)
  3. การสรุปผล(Conclusive)
  4. การให้ความร่วมือ(The collaborative)
  5. เกมการศึกษา(Educational game)
  6. องค์ประกอบ(Elements)
การประเมินหลังการเรียน
ประเมินตนเอง: มีความละเอียดรอบครบในการทำงานมากยิ่งขึ้น มีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นจากเดิมมากๆเข้าใจเนื้อหาที่เรียนภายในห้องเรียน แต่งกายสุภาพ อาจจะมีเข้าเรียนาสยบางแต่จะพยามปรับปรุงในดียิ่งขึ้นต่อไปค่ะ
ประเมินเพื่อน: เพื่อนมีความตรงต้องเวลาในการเข้าเรียนในรายวิชานี้มาก ตั้งใจเรียน เเเต่งกายสุภาพเรียบร้อย ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมภายในชั้นเรียนเป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์: อาจารย์คอยสอนคอยเตือนตลอดที่เรียนในรายวิชานี้ใช่ว่าจะเเค่ความรู้ในรายวิชา แต่ท่านยังสอนไปถึงการวางตัวในการทำงาน การดำรงชีวิตในสังคม การทำงานร่วมกับผู้อื่น และการรับผิดชอบต่องานที่ตนเองได้รับท่านถ่ายทอดเนื้อหาความรู้ให้ศิษย์อย่างเต็มที่อย่างไหนที่ไม่เข้าใจท่านก็จะอธิบายจนกว่าศิษย์จะเข้าใจจึงทำให้การเรียนรู้เต็มเปี่ยมไปด้วยเข้าใจในเนื้อหานั้นๆ




วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2557



    บันทึกอนุทินครั้งที่ 15 

     วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน 2557

สรุปความรู้ทีได้ในวันนี้
การนำเสนอวิจัยหน้าชั้นเรียน
เรื่องที่ 1 การสร้างขุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย                                  ค้นคว้าเพิ่มเติม
เรื่องที่ 2 ผลการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียนที่มีต่อทักษะการสังเกตของเดด็ก                    ปฐมวัย    ค้นคว้าเพิ่มเติม
เรื่องที่ 3 การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์                             ค้นคว้าเพิ่มเติม

การนำเสนอโทรทัศน์ครูหน้าชั้นเรียน
เรื่องที่ 1จุดประกายนักวิทยาศาตร์น้อย
เรื่องที่ 2 สอนวิทย์คิดสนุกกับเด็กปฐมวัย
เรื่องที่ 3 อนุบาล3 เรียนวิทยาศาสตร์สนุก
เรื่องที่ 4 กิจกรรมสะเทือนน้ำสะเทือนบกเเละจรวจ
เรื่องที่ 5 ขวดปั๊บเเละลิฟเทียน
เรื่องที่ 6 สื่อเเสงแสนสนุก
เรื่องที่ 7 พลังจิตคิดไม่ซื่อ
เรื่องที่ 8 ทะเลฟองสีรุ้ง
เรื่องที่ 9 บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
เรื่องที่ 10 ความลับของใบบัว 
เรื่องที่ 11 สนุกวิทย์คิดทดลอง ไข่ในน้ำ
เรื่องที่ 12 สาดสีสนุก

เทคนิกการสอนในห้องเรียน
  1. การร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยที่เพื่อนออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน เพื่อสร้างความเข้าใจในงานวิจัยฉบับนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ
  2. การใช้คำถามจากอาจารย์เพื่อเป็นตัวกระะตุ้นการเรียนรู้ในชั้นเรียนเพื่อให้ให้ได้ซึ่งความคิดเเละคำตอบที่มีความหลากหลาย
การนำไปประยุกต์ใช้

          เพื่อเป็นการเปิกโลกทัศน์ในการเรียนรู้สิ่งใหม่ที่เกี่ยวข้องกับสาขาที่เรียนของตนเองให้มีความหลากหลายเเละใช้เป็นเเนวทางในการจัดการเรียนรู้เเละเเนวทางการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัยพร้อมๆกับการร่วมพัฒนาเด็กแบบองค์รวมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

คำศัพท์(Glossary)
  1. ค้นคว้าเพิ่มเติม (further Research)
  2. การวิเคราะห์ข้อมูล(Data Analysis)
  3. กระตุ้นการเรียนรู้(Stimulate learning)
  4. ความหลากหลายทางความคิด(The diversity of ideas)
  5. กิจกรรมวิทยาศาสตร์(Science Activities)
  6. งานวิจัย(research)
การประเมินหลังการสอน

ประเมินตนเอง : มีความเข้าใจเนื้อหา ให้ความร่วมมือ เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อบ
ประเมินเพื่อน : ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียน แต่งกายเรียบร้อย
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์คอยเเนะนำเทคนิคในการหางานวิจัยที่สมบูรณ์และสามารถในมาใช้ในการ     จัดการเรียนรู้และจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสำหรับเด็กปฐมวัย







สรุปงานวิจัยของตนเอง 



     เรื่อง กระบวนการส่งเสริมการเเก้ไขปัญหาของเด็กปฐมวัย         โดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามเเนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ คลิก

จุดมุ่งหมายของการวิจัย
  1. เพื่อทำความเข้าใจเเละอธิบายกระบวนการส่งเสริมการเเก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย
  2. เพื่อทำความเข้าใจเเละอธิบายระยะการเปลี่ยนเเปลงของเด็กปฐมวัย
ขอบเขตการวิจัย

          ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียน ชาย - หญิง อายุ 5-6ปีจำนวน32คนที่กำลังศึกษาอยุ่ในระดับชั้นอนุบาลที่2ภาคเรียนที่2ปีกาลศึกษา 2543โรงเรียนวัดอุทัยธาราม สังกัดสำนักงานประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร

ตัวเเปรที่ใช้ในการศึกษา

          กระบวนการส่งเสริมการเเก้ไขปัญหาของเด็กปฐมวัย

นิยามศัพท์เฉพาะ

         เด็กปฐมวัย หมายถึง นักเรียน ชาย - หญิง อายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยุ่ในระดับชั้นอนุบาลที่2         ภาคเรียนที่2ปีกาลศึกษา 2543โรงเรียนวัดอุทัยธาราม สังกัดสำนักงานประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร
         กระบวนการส่งเสริมการเเก้ปัญหา หมายถึง การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามเเนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่เน้นให้เด็กเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ  ครูเป็นผู้เเนะนำ สนับสนุน ส่งเสริม โดยคำนึงถึงประสบการณ์เดิมของเด็ก การจัดกิจกรรมตามสภาพจริงการไตร่ตรองข้อมูลเเละการนำข้อมูลที่ได้จริงมาสะท้อน วิเคราะห์เเละประเมินอย่างเป็นระบบโดยใช้ปัจัยสำคัญของเเนวคิดคอนสตรัคติวิสต์    
ดังนี้

  1. การเรียนรู้จากการลงมือปฎิบัติ
  2. การจัดกิจกรรมตามสภาพจริง
  3. ประสบการณ์เดิมของเด็ก
  4. ปฏิสัมพันธ์ครูเเละเด็ก
  5. การไตร่ตรองข้อมูล
        กิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามเเนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ หมายถึง การจัดกิจกรรมเสริมความรู้ เเละความสนใจของเด็กในสิ่งที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ทั่วไป โดยเปิดโอกาสให้เด็กได้ สังเกต ซักถาม             ค้นคว้าคำตอบ สรุปและอภิปรายผลตามความคิดของเด็ก
        การเเก้ปัญหา หมายถึง ร่องรอย พฤติกรรมที่เด็กทำ เมื่อมีสถานการณ์เกิดขึ้น การเเก้ปัญหาอาจทำเป็นกลุ่มหรือรายบุคคล โดยใช้ความรู้ ความคิด และประสบการณ์ช่วย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

  1. แบบบันทึกเหตุการณ์
  2. แบบวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์
  3. แบบบันทึกการพัฒนาการเเก้ปัญหา                                                                                              
วิธีการดำเนินการวิจัย


          ดำเนินการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามเเนวคิดคอนสตรัคติวิสต์กับกลุ่มตัวอย่าง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ4 วัน วันละ60นาที รวม32 ครั้ง

สรุปผลการวิจัย
ผลการส่งเสริมการเเก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามเเนวคิดคอนสตรัคติวิสต์
สรุปได้ดังนี้

  1. การปรับบทบาทตนเองของผู้วิจัยขณะจัดกิจกรรมวิทยาศาสรต์ตามเเนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ ดังนี้ผู้วิจัยเป็นผู้นำเสนอกิจกรรมในสัปดาห์ที่ 1-2ส่วนบทบาทในการตั้งคำถาม สังเกตุและรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยให้ความสำคัญทุกสัปดาห์
  2. เด็กมีการเปลี่ยนเเปลงการเเก้ปัญหาตามระยะเวลา ดังนี้                                                                   สัปดาห์ที่ 1-2 เด็กมีพฤติกรรมนิ่งเฉย หลีกเลี่ยงและไม่เข้าร่วมเเก้ไขปัญหาเมื่อเกิดสถานการณ์ปัญหาในสัปดาห์ที่ 3-4 เด็กมีพัฒานาการเเก้ปัญหาที่เป็นกลุ่มหรือรายบุคคลได้แต่ด้วยวิธีการที่ไม่เหมาะสม สัปดาห์ที่ 5-8 เด็กมีพัฒนาการเเก้ปัญหาที่เป็นกลุ่มหรือรายบุคคลได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ปัญหา                                                              




วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557


                 คิดวิทย์Eureka

            การทดลองวิทยาศาสตร์ฟองสบู่มหัศจรรย์






สาเหตุการทดลองที่1
เพราะตรงทรงลูกบาศก์จะทำให้ฟองสบู่เข้าไปจับในมุมทั้ง4ของสี่เหลี่ยมจนเกิดรูปตรงกลางที่เหมือนถ้วยคว่ำประกบกันเอาไว้เมื่อเราเป่าลูกโป่งวงกลมธรรมดาลงไปตรงกลางของสี่เหลี่ยมฟองก้จะเข้าไปจับตัวตามรูปทรงของลูกบาสก์

สาเหตุการทดลองที2
เพราะปกติในการเป่าฟองสบู่จะมีรูประบายอากาศเพียงเเค่รูเดียวแต่เมื่อเรานำผ้าขนหนูที่มีรูประบายอากาศระหว่างเส้นใยผ้าเล็กๆอยู่หลายรูจึงทำให้อากาศกระจายตัวไปสัมผัสกับน้ำยาล้างจานเเละกลายเป็ยฟองสบู่สายเล็กๆออกมาจากขวด







สรุปเรื่องอากาศ



อากาศ.....เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเราเราสามารถรับรู้ว่ามีอากาศอยุ่รอบๆตัวเราโดยการ โบกมือไปมากระเเสลมที่เกิดขึ้นและปะทะกับฝ่ามือเานั้นเเสดงว่าอากาศมีอยู่จริงหรือถ้าเรายืนอยู่ในที่ที่มีลมพัดผ่านเราจะรุ้สึกว่ามีอากาศหรือลมมาถุกตัวเราเเรงลมสามารถทำให้เกิดคลื่นน้ำหรือหมุนกังหันได้

ส่วนประกอบของอากาศ
  1. ก๊าซไนดตรเจน 78 %
  2. ก๊าซออกซิเจน   21 %
  3. ก๊าซอื่นๆ              1%
คุณสมบัติของอากาศ
  1. อากาศมีตัวตนสามารถสัมผัสได้
  2. อากาศมีน้ำหนัก
  3. อากาศต้องการที่อยู่
  4. อากาศสามารถเคลื่อนที่ได้
อุณหภูมิ......คือระดับความร้อนหนาวของอากาศถ้าอากาศหนาวอุหภูมิจะต่ำลงถ้าอากาศร้อนอุหภูมิจะสูงขึ้นเครื่องมือที่ใช้วัดระดับอุหภูมิคือ เทอร์โมมิเตอร์ มีหน่วยเป็นองศาเซลเซียสและองศาฟาเรนไฮต์

เทอร์โมมิเตอร์......มีลักษณะคล้ายหลอดเเก้วหัวท้ายปิดมีกระเปาะเล็กๆอยู่ตรงปลายด้านหนึ่งภายในกระเปาะบรรจุของเหลวเมื่ออากาศร้อนของเหลวจะจะเคลื่อนตัวอยู่ในระดับที่สุงขึ้นเราเรียกว่า"อุณหภูมิสูง"แต่ถ้าอากาศหนาวของเหลวจะหดตัวลงในระดับที่ต่ำลงเราเรียกว่า"อุณหภูมิต่ำ"
           ดังนั้นอากาศเป็นสิ่งจำเป็นต่อการหายใจของสิ่งมีชีวิตบนโลกทั้งยังคอยช่วยปรับอุณหภูมิของโลกไม่ให้ร้อนหรือหนาวจนเกินไปนอกจากนั้นบรรยากาศยังช่วยห่อหุ่มโลกเพื่อกรองรังสีอุตรไวโอเลตไม่ให้ผ่านเข้ามายังโลกมากจนเกินไปซึ่งจะเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ช่วยป้องกันอัตรายจากนอกโลก เข่น อุตกาบาต ขยะอวกาศ ทำให้เกิดเมฆฝนสิ่งงเป็นสิ่งสำคัญในการทำการเกษตรในประเทศ





       








วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557


 สรุปบทความเรื่อง....นักสำรวจน้อย คลิก


(โดยรองศาสตราจารย์ นภเนตร ธรรมบวร)



สรุป

             เป็นที่ทราบกันดีว่าวัยเด็กเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นเด็กในวัยนี้มักแอบสำรวจสิ่งต่างๆรอบตัวอยู่เสมอโดยเด็กไม่รู้เลยว่าสิ่งที่ตนกำลังทำอยู่นั้นเป็นกระบวนการหนึ่งในการสืบค้นหาคำตอบมางวิทยาศาสตร์การสำรวจเป็นคุณสมบัติที่เด็กเกือบทุกคนมีอยู่ในตนเองเพียงเเต่บางครั้งการเเสดงออกซึ่งความอยากรู้อยากเห็นจึงไม่เหมาะสมจึงทำให้ผู้ใหญ่มองข้ามหรือละเลยไป การฝึกใช้ให้เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการรับรู้และสำรวจสิ่งต่างๆรอบตัว การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำข้อมูลที่ได้ไปสื่อสารนั้นถือเป็นทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญมาก ผู้ปกครองสามารถจัดกิจกรรมง่ายๆที่บ้านด้วยตนเองเพื่อฝึกให้ลูกให้ใช้ประสาทสัมผัสได้เช่นกันโดยเริ่มต้นจากการชี้ชวนให้ลูกสังเกตธรรมชาติรอบตัว เช่น ต้นไม้ ดอกไม้และเเมลงต่างๆในขั้นนี้ผู้ปกครองอาจจะกระตุ้นลูกให้วาดสิ่งของที่สังเกตเห็นควบคู่ไปด้วยเเละมีการพูดคุยเกี่ยวกับรายละเอียดของสิ่งที่ลูกสังเกตว่า ลูกสังเกตเห็นอะไรบ้าง มีสีอะไร มีขนาดเท่าไหร่ เมื่อลูกมีการคุ้นเคยและชำนาญมากขึ้นผู้ปกครองอาจจะเล่นเกมกับลูกโดยอาจให้ลูกเป็นคนสังเกตและนำขอมูลมาสื่อสารให้ผู้ปกครองเป็นผู้วาดหรืออาจจะสลับบทบาทกันก็ได้ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ไม่ใช่การศึกษาเเบบแยกส่วนเเบบที่หลายๆคนเข้าใจแต่เป็นการเรียนรู้เเบบบูรณาการระหว่างวิทยาศาสตร์เเละศิลปะ เป็นศาสตร์ของการเชื่อมโยงผสมผสานระหว่างสื่งที่อยู่ใกล้ตัวและความงามในธรมมชาติเข้าด้วยกัน อันจะนำไปสู่ก่รพัฒนาเจตคติในทางบวกต่อการดำรงค์ชีวิตของเด็กต่อไปในอนาคต

 สาเหตของการเลือกบทความเรื่องนี้เพราะ

            จริงอยู่ว่าบทความที่ข้าพเจ้าเลือกมานั้นได้กล่าวถึงเด็กในวัย 8-9ปี  แต่ทักษะการสังเกตนั้นถือได้ว่าเป็นทักษะพื้นฐานในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ซึ่งวิทยาศาสตร์นั้นสามารถเรียนได้ตั้งเเต่ในระดับ อนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา หรือในการศึกษาในระดับขั้นที่สูงกว่านี้ สำหรับการสอนวิทยาศาสตร์ในระดับเด็กปฐมวัยนั้นราสามรถนำมาประยุกต์ในการสอนได้ ซึ่งอาจจะเป็นการสำรวจซึ่งต่างๆรอบตัวรวมไปถึงการทำการทดลองทีมีขั้นตอนไม่ยุ่งยากซับซ้อน เเต่เกิดกระบวนการในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เริ่มจากเรื่องใกล้ตัวเด็กไปจนถึงเรื่องที่ใกล้ตัวเด็กออกไป ซึ่งจะเป็นการปลูกฝังทัศนคติที่ดีในการเรียนรู้เเละนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดการเรียนรู้ในขั้นต่อไปในอนาคต