วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่  4
วันพฤหัส ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557

                       การเรียนวันนี้ เรื่อง เด็กปฐมวัยกับวิทยาศาสตร์ โดยสรุปเป็น Mind Map ได้ดังนี้



การนำเสนอบทความวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

บทความเรื่องที่ 1 สรุปได้ใจความดังนี้
                หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยเน้นเนื้อหาด้านวิชาการมากเกินไปในทางตรงกันข้ามกลับมีการลงมือปฏิบัติหรือการทดลองน้อยลงทำให้เด็กปฐมวัยส่วนใหญ่ขาดทักษะการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์  การซักถามหรือแม้กระทั่งการตั้งคำถามของเด็กทำให้เด็กได้คิดทบทวนจากประสบการณ์เดิมโดยการเรียนรู้ผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5  โดยเรียนรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวที่เด็กสนใจและส่งผลกระทบต่อเด็กโดยตรง

บทความเรื่องที่ 2  สรุปได้ใจความดังนี้
 แนวทางที่ครูใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
1. ตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเด็ก
2. ออกไปหาคำตอบด้วยกัน
3.หาคำตอบด้วยตัวเอง
4.นำสิ่งต่างๆมาเล่าให้เพื่อนฟัง
5.นำไปการทดลองต่อยอดการเรียนรู้
ครูจึงควรหาแนวทางและใช้คำถามเป็นตัวกระตุ้นเด็กเพื่อเป็นการกระตุ้นการเรียนรู้และร่วมหาคำตอบร่วมกับเด็กเพื่อส่งเสริมให้เค้าได้คำตอบที่ครบถ้วนสิ่งที่ครูควรจะตระหนักในการจัดกิจกรรมให้แก่เด็กคือ ให้เด็กได้เล่นละลงมือทำด้วยตนเองโดยมีครูคอยทำหน้าที่สังเกตและประเมินเด็กอย่างใกล้ชิด
บทความเรื่องที่ 3  สรุปได้ใจความดังนี้
การเรียนรู้ผ่านสิ่งต่างๆรอบตัวเพื่อปลูกฝังให้เด็กรักในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์                                                     
อพวช  งานวันวิทยาศาสตร์น้อยวัย 3-6ขวบสามารถจดจำการเรียนรู้ได้ดี   มี 4 เรื่องที่นำมาจัดกิจกรรม คือ ดิน น้ำ ลม และ ไฟ 
บทความเรื่องที่ 4 สรุปได้ใจความดังนี้
การสอนลูกสภาวะโลกร้อน คือการนำของเล่นหรือของที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์ สอนให้เด็กรู้จักการประหยัด โดยทุกส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ให้แก่เด็ก เช่น   พ่อแม่หรือผู้ปกครอง ทำกิจกรรมภายในครอบครัว อาทิ การแยกขยะ นำของที่ใช้แล้วสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ครูผู้สอนจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับโลกร้อน   และ การสร้างสรรค์งานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ เป็นต้น

ความรู้ที่ได้รับ
ทราบขอบข่ายการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
มีแนวทางในการสอนวิทยาศาสตร์ที่เหมาะกับเด็กปฐมวัย
การบูรณาการความรู้วิทยาศาสตร์กับความรู้ในด้านต่างๆ

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
ให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเรียนรู้
การจัดกรรมสอดคล้องกับความสนใจของเด็กและเหตุการณ์ในปัจจุบัน
เข้าใจพัฒนาการละความต้องการในการเรียนรู้ของเด็กเพิ่มมากยิ่งขึ้น
คำศัพท์(Glossary )
กำหนดปัญหา(define the problem)
การปรับตัว(Adaptation)
การเปลี่ยนเเปลง(The Revoluationary )
ตอบสนองความต้องการ(Meet )
มีเหตุผล(realistic)
ความซื่อสัตย์(honesty)
เทคนิควิธีการสอนในชั้นเรียน
ทักษะการใช้คำถามปลายเปิด เพื่อให้ได้แนวคิดของคำตอบที่หลากหลาย
ทักษะการใช้สื่อเทคโนโลยี
ทักษะการเขียนสรุป
การประเมินการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง : มาเรียนตรงเวลา  สอบถามเมื่อไม่เข้าใจเนื้อหา  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
ประเมินเพื่อน :  ตั้งใจเรียนให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
ประเมินอาจารย์ : แนะนำเทคนิคการสอนเกี่ยวกับการเรียนรู้ทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอย่างตรงประเด็นและเข้มข้น




วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2557


บันทึกอนุทินครั้งที่  3
วันพฤหัส ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

การเรียนวันนี้ เรื่อง เด็กปฐมวัยกับวิทยาศาสตร์ โดยสรุปเป็น Mind Map ได้ดังนี้




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. การจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ของเด็กเพื่อให้เด็กได้แสดงออกทางพัฒนาการได้อย่างเหมาะสมกับวัย
  2. การจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก
  3. การนำทฤษฏีการเรียนรู้มาอ้างอิงในการจัดการศึกษาเพื่อที่จะได้มีเป้าหมายในการเรียนรู้ของเด็ก
  4. การใช้ Mind Map เพื่อการสรุปองความรู้อย่างเป็นระบบและง่ายต่อความเข้าใจ 
คำศัพท์    (Glossary)
นักการศึกษา(Educators)
โครงสร้างทางสติปัญญา(The intellectual )
โครงสร้างทางสังคม(Social structure )
ทักษะทางคณิตศาสตร์(Math Skills )
ทักษะทางภาษา(Language skills)

การประเมินการเรียนการสอน

 ประเมินตนเอง    : แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามได้ดี ให้ความสนใจกับการเรียนการสอน และสามารถสรุปการเรียน ได้แต่มีข้อแก้ไขบางข้อเพื่อทำให้งานออกมามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ประเมินเพื่อน     : เพื่อนทุกคนร่วมกันแสดงความคิดเห็น และพัฒนาการสรุปความรู้ในรูปแบบ Mind Map เพื่อจัดความคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ
ประเมินอาจารย์  : อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้คำถามปลายเปิด ให้นักศึกษาได้ใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์ และให้ความสนใจกับคำตอบของนักศึกษาทุกคน การส่งเสริมทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ การจับประเด็นความรู้ให้ถูกต้องและแม่นยำทฤษฏีการเรียนรู้ พร้อมทั้งแนะนำการสรุปความคิดให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น
บันทึกอนุทินครั้งที่ 2
วันพฤหัส ที่ 28 สิงหาคม .. 2557
 ( เรียนรู้จากเพื่อน โดย นางสาวธนภรณ์  คงมนัส เนื่องจากไปกองทุก กยศ)


การเรียนวันนี้ เรื่อง เด็กปฐมวัยกับวิทยาศาสตร์ โดยสรุปเป็น Mind Map ได้ดังนี้


  การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

  1. การออกแบบกิจกรรมที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ของเด็กเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กให้มีประสิทธิภาพ
  2. การจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กเพื่อที่เด็กจะได้มีพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัย
  3. การเปิดโอกาสและให้ความสนใจกับทุกๆข้อสงสัยเด็กของเด็กเพื่อเด็กจะได้มีความรู้ที่กว้างขวาง

การประเมินการเรียนการสอน

ประเมินตนเอง : เข้าใจเนื้อหาในการต่อยอดการเรียนในครั้งต่อไป
ประเมินเพื่อน : มีน้ำใจ ช่วยเหลือและอธิบายเนื้อหาให้ฟังอย่างละเอียด
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้คำแนะนำในการสร้างบล็อคและรูแบบการสร้าง







วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 1
วันพฤหัส ที่ 21 สิงหาคม .. 2557

อาจารย์ได้อธิบายแนวการสอน, ผลลัพธ์การเรียนรู้ แบ่งเป็น 6 ด้าน ได้แก่

  1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม                 
  2. ด้านความรู้
  3. ด้านทักษะทางปัญญา
  4. ด้านทักษะความสามารถระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ
  5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
  6. ด้านการจัดการเรียนรู้

ข้อมูลในการบันทึกการเรียน ได้แก่ เนื้อหาที่เรียน และการนำไปประยุกต์ใช้

องค์ประกอบของบล็อก ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้

  •  ชื่อ และคำอธิบายบล็อก
  •  รูป และข้อมูลผู้เรียน
  •  ปฏิทิน และนาฬิกา
  •  เชื่อโยงบล็อก
                - อาจารย์ผู้สอน
                - สื่อ(เพลง, เกม, นิทาน, แบบฝึกหัด, ของเล่น)
                - สถิติผู้เข้าชม
                - รายชื่อเพื่อน

     โดยทั้หมดให้พิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ

     การนำไปประยุกต์ใช้ 
  1. สามารถนำวิธีการทำบล็อก การใส่องค์ประกอบต่างๆของบล็อก ไปใช้ในการบันทึกความรู้ หรือข้อมูลต่างๆ
  2. นำวิธีการสอนไปใช้กับเด็กได้ เช่น มีการใช้คำถาม ให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการเรียน
  3. สามารถใช้เทคโนโลยีในการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ เพราะการทำสื่อ เราต้องทำได้หลายรูปแบบ